ข้อมูลยาง RRIM 3001 หรือ KT 39/35

รีวิวและอธิบายการใช้สินค้า ในกลุ่มยางพารา
ตอบกลับโพส
stpc096
Administrator
โพสต์: 87
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 10 พ.ค. 2012 9:55 am
ติดต่อ:

ข้อมูลยาง RRIM 3001 หรือ KT 39/35

โพสต์ โดย stpc096 » อาทิตย์ 17 มี.ค. 2013 7:49 am

ข้อมูลยาง RRIM 3001 หรือ KT 39/35 แปลตามความรู้และความเข้าใจของนายพิพัฒน์ แซ่ลี้

ต้นยางกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- การปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์ยางเพื่อเพิ่มผลผลิตเป็นขบวนการที่มีการทำมาอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการยางแห่งประเทศมาเลเซีย เป็นเวลาเกือบ 9 ทศวรรษ

- นับตั้งแต่เริ่มขบวนการมามีเพียง 6 ชุดจาก 185 ชุด ที่มีการพัฒนาและแนะนำให้อุตสาหกรรมการปลูกยางภายใต้ชื่อ 1. RRIM 500 (1928-1931) 2.RRIM 600 (1937-1941) 3.RRIM 700 (1947-1958) 4.RRIM 800 (1959-1965) 5.RRIM 900 (1966-1973) และ 6.RRIM 2000 (1974 จนถึงปัจจุบัน)

- บางส่วนของชุดเหล่านี้ได้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายประเทศที่มีการปลูกยาง

- ความสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์ยางสามารถเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตจากอดีต 500 กก./เฮกตรา/ปี (80 กก./ไร่/ปี) จนถึงประมาณ 3,000 กก./เฮกตรา/ปี (480 กก./ไร่/ปี) ในชุดปัจจุบัน

- ในอดีตที่ผ่านมา ส่วนใหญ่การปรับปรุงพันธุ์นั้นจะเน้นไปที่น้ำยางเป็นส่วนใหญ่

- การเพิ่มขึ้นอย่างมากของผลผลิตจนเป็นที่น่าอัศจรรย์นี้จะเป็นไปได้ยากถ้ามีฐานทางพันธุกรรมแคบ แต่เมื่อได้พันธุ์ใหม่จากบราซิลในปี 1950s ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ชุด RRIM 900 และชุด RRIM 2000 ก็ประสบความสำเร็จอย่างดีด้วยผลผลิต 3,000 กก./เฮกตรา/ปี (480 กก./ไร่/ปี)

- ในปีที่ผ่านมาเร็วๆนี้เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังจากที่ไม้ยางพาราเริ่มเป็นไม้ทางเลือก ที่มาแทนไม้จากธรรมชาติ

- การปรับปรุงพันธุ์ยางตลอดจนการคัดเลือกพันธุ์ยาง จึงได้มีการหันมาพัฒนาชุดที่มีน้ำยางมากและเนื้อไม้มากด้วย หรือเรียกว่าชุด latex-timber clones

- ชุดที่มีการพัฒนาผ่านมาเร็วๆนี้ประกอบด้วย RRIM 928 RRIM 929 และ RRIM 2001-2033

- บางส่วนของชุดที่มีน้ำยางมากและเนื้อยางมากที่เป็นความหวังใหม่ซึ่งกำลังพัฒนาและเลือกพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่แนะนำต่อไปประกอบด้วย KT 39/35 (RRIM 3001), L 7/2, D 9/12, N 25/1, R 30/9, OR 23 และ X 28/1

- ทุก 3 ปีจะมีข้อแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ยางมาเสนอให้ทราบ

- สรุปหลังจากได้พันธุกรรมจากบราซิลในปี 1981 และ 1995 แล้วคาดว่าจะสามารถพัฒนาพันธุ์ยางที่มีน้ำยางมากและเนื้อไม้มากที่ให้ผลผลิตประมาณ 4,000 กก./เฮกตรา/ปี หรือ 640 กก./ไร่/ปี

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 ก.ย. 2008

แปลจาก : http://www.lgm.gov.my/GreenMaterial/Rub ... inable.pdf

ผิดพลาดประการใด ขอคำแนะนำด้วยครับ

พิพัฒน์ แซ่ลี้

เปิดตัว RRIM 3001 หรือ KT 39/35

โคลนยางใหม่ประกาศเปิดตัวเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 โดยรองนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย, Tan Sri Muhyiddin Yassin ในระหว่างพิธีเปิดการซื้อขายระหว่างประเทศมาเลเซียและงาน Conference 2009 (MICCOS 2009)

RRIM 3001 ที่พัฒนาโดยคณะกรรมการยางมาเลเซียมีลักษณะดังต่อไปนี้ :

1. มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและ สามารถกรีดได้ใน 4 ปีหลังจากปลูก ซึ่งช่วยลดระยะเวลาที่ปลูกได้

2. ผลผลิตน้ำยางจะมีศักยภาพ 3,000 กก. ต่อเฮกตาร์/ปี (480กก./ไร่/ปี)

3.ลำต้นที่ได้จะตรงและใหญ่มีปริมาณไม้ 2.0 ลูกบาศก์เมตร/ต้น หลังจากปลูก 15 ปี

4. มีความต้านทานโรค(ที่แปลงของผม จ.สุราษฎร์ RRIM 3001 ทนโรคราแป้งและไฟท็อปได้น้อยกว่า RRIM 2025)

RRIM 3001 ที่มีผลผลิตสูงทั้งน้ำยางและเนื้อไม้จึงเหมาะกับเกษตรกรที่ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ และยังเป็นพันธุ์ยางที่เหมาะสำหรับการปลูกเชิงพาณิชย์และการปลูกป่าด้วย

แปลจาก : http://www.lgm.gov.my/news/newsClone1.html
น้ำยางออกน้อย,เปลือกแตก,ยางตายนึ่ง,น้ำยางไม่ไหล,หน้าเน่า
อาการเหล่านี้จะหมดไป ไม่ต้องปวดหัวและเหนื่อยใจอีกต่อไปแล้วครับ
คลิ๊กเข้าชมสวนที่รักษาหาย
คลิ๊กเข้าชมวีธีการรักษายางตายนึ่ง
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ สูตรบำรุงต้น เพิ่มน้ำยาง

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ฮอร์โมนสำหรับยางพารา สารทาหน้ายาง ปุ๋ยทาหน้ายาง”

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 1