ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดี
โพสต์แล้ว: เสาร์ 29 มิ.ย. 2013 7:00 am
ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดี
ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดีเหมาะปลูกที่อีสาน
ยางพันธุ์ใหม่ "RRIT 408" ผลงานวิจัยล่าสุดของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานวิจัยยางให้กับ สกย. จุดเด่นของยางพันธุ์ใหม่นี้ ปลูกง่าย โตไว ให้ปริมาณน้ำยางสูง เฉลี่ย 352 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่า RRIM 600 ถึงร้อยละ 62 ค่อนข้างต้านทานต่อใบร่วงไฟทอฟธอรา,ใบจุดก้างปลา ต้านทานปานกลางต่อราแป้ง,ใบจุดคอลเลโทตริกัม, โรคเส้นดำ และราสีชมพู ที่สำคัญ ทนความแห้งแล้งได้ดี ต้านทานลม ปานกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน
ยางพันธุ์นี้ สถาบันวิจัยยางใช้เวลากว่า 25 ปีในการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเปิดกรีดและขณะนี้ได้เปิดกรีดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ซึ่งผลผลิตน้ำยางดีมาก และเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่ปลูกในภาคอีสานต่อไป เนื่องจากยางพาราสายพันธุ์นี้ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ที่สำคัญสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่น
การเลือกพันธุ์ยางปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะยางแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมต่างกัน ในพื้นที่ปลูกที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคอีสาน เหนือและกลาง ซึ่งเจ้าของสวนยางจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางหรือเนื้อไม้ หรือทั้งน้ำยางและเนื้อไม้เพื่อจะได้เลือกพันธุ์ยางได้ถูกต้องและได้ผลตอบแทนตามที่หวัง
"บางครั้งระดับน้ำในดินมีผลต่อการทำงานของรากยางด้วย อย่างพันธุ์ RRIT 251 และอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ไม่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ดีเช่น บีพีเอ็ม (BPM) 24 หรืออย่างโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 มักจะมีปัญหา แต่พันธุ์พีบี (PB) 255 กลับมีความต้านทานได้ดีกว่า แม้ผลผลิตน้ำยางจะน้อยกว่าอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ก็ตาม"
จากอดีตจนปัจจุบันมียางหลายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยยางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางว่าจะเน้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้เป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะเหมาะกับพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปด้วย
ข้อมูลจาก www.km.rubber.co.th
ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดีเหมาะปลูกที่อีสาน
ยางพันธุ์ใหม่ "RRIT 408" ผลงานวิจัยล่าสุดของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานวิจัยยางให้กับ สกย. จุดเด่นของยางพันธุ์ใหม่นี้ ปลูกง่าย โตไว ให้ปริมาณน้ำยางสูง เฉลี่ย 352 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่า RRIM 600 ถึงร้อยละ 62 ค่อนข้างต้านทานต่อใบร่วงไฟทอฟธอรา,ใบจุดก้างปลา ต้านทานปานกลางต่อราแป้ง,ใบจุดคอลเลโทตริกัม, โรคเส้นดำ และราสีชมพู ที่สำคัญ ทนความแห้งแล้งได้ดี ต้านทานลม ปานกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน
ยางพันธุ์นี้ สถาบันวิจัยยางใช้เวลากว่า 25 ปีในการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเปิดกรีดและขณะนี้ได้เปิดกรีดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ซึ่งผลผลิตน้ำยางดีมาก และเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่ปลูกในภาคอีสานต่อไป เนื่องจากยางพาราสายพันธุ์นี้ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ที่สำคัญสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่น
การเลือกพันธุ์ยางปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะยางแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมต่างกัน ในพื้นที่ปลูกที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคอีสาน เหนือและกลาง ซึ่งเจ้าของสวนยางจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางหรือเนื้อไม้ หรือทั้งน้ำยางและเนื้อไม้เพื่อจะได้เลือกพันธุ์ยางได้ถูกต้องและได้ผลตอบแทนตามที่หวัง
"บางครั้งระดับน้ำในดินมีผลต่อการทำงานของรากยางด้วย อย่างพันธุ์ RRIT 251 และอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ไม่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ดีเช่น บีพีเอ็ม (BPM) 24 หรืออย่างโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 มักจะมีปัญหา แต่พันธุ์พีบี (PB) 255 กลับมีความต้านทานได้ดีกว่า แม้ผลผลิตน้ำยางจะน้อยกว่าอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ก็ตาม"
จากอดีตจนปัจจุบันมียางหลายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยยางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางว่าจะเน้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้เป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะเหมาะกับพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปด้วย
ข้อมูลจาก www.km.rubber.co.th