อธิบาย การให้ปุ๋ยในยางพารา ทั้งNPK และ ธาตุอาหารรองและอาหารเสริม
โพสต์แล้ว: พุธ 21 ส.ค. 2013 10:01 am
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาอธิบายการให้สารอาหารสำหรับต้นยางกันนะครับ
สำหรับต้นยางปกติที่เปิดกรีดแล้วนะครับ การใส่ปุ๋ยในสวนยางพารา ควรจะใส่อย่างน้อยปีละ2ครั้ง เพื่อให้ต้นยางพาราได้สะสมอาหารและเปลี่ยนมาเป็นน้ำยาง ได้อย่าเหมาะสม
ต้นยางที่แสดงอาการผิดปกติ เนื่องจากขาดสารอาหาร เมื่อแสดงอาการแล้วไม่ใช่ว่าขาดปุ๋ยมาสองสามเดือนนะครับ ถ้าแสดงอาการผิดปกติแล้ว อาจจะขาดสารอาหารมาเป็นปีแล้ว จึงแสดงอาการออกมา อาจจะขาดธาตุหลัก หรือธาตุรองและเสริมก้เป็นได้
ถ้าต้นยางขาดธาตุอาหารหลัก การให้น้ำยางจะลดน้อยลงมาก ยกตัวอย่าง
ชาวสวนยาง มีสวนยางอายุ12ปี ใส่ปุ๋ยตามปกติ เคมี สูตร ยางเปิดกรีด(หน้าสูง กลางต่ำ ท้ายสูง) กรีดยางได้น้ำยางปกติ แล้วอยู่มาวันหนึ่ง บอกว่า ใส่ปุ๋ยเคมีเปลือง ลองหันมาใส่อย่างอื่นมั่งดีกว่า จึงเอาปุ๋ยมูลสัวต์ ปุ๋ยหมักเอง(หญ้าและใบไม้หมัก หรือปุ๋ยส้วม) มาใส่แทนปุ๋ยเคมี
ปีนี้ก็ยังให้น้ำยางปกติ จนถึงปิดหน้ายาง เอาละทีนี้เรามาวิเคราะห์ดูกันนะครับ
เนื่องจาก ปุ๋ยเก่าในดิน NPK ที่ใส่ไปยังมีธาตุอาหารอยู่ ในปีนี้จึงกรีดได้น้ำยางปกติ แต่เราได้ใส่ปุ๋ย คอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยที่มี NPK น้อยลงไป สิ่งที่ตามมา ในปีถัดไป สารอาหารจะไม่พอที่จะทำให้ต้นยางสามารถผลิตน้ำยางออกมาได้เท่าเก่า เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ลดลง(์์NPK) จึงทำให้ในปีถัดไปน้ำยางออกน้อยตามมาครับ
ใครที่เป็นแบบนี้อยู่ลองสำรวจ ปุ๋ยดูนะครับ ใส่ได้ถึงเกณท์หรือเปล่า
ต้นไม้ส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการแค่ NPK ยังต้องการธาตุรอง และเสริมอยู่ด้วย ถ้าขาดอาจจะแสดงอาการต่างๆกัน เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ธาตุรองธาตุเสริมด้วย เช่น
แคลเซี่ยม เหล็ก ค๊อปเปอร์ แมงกานีส โมลิดินั่ม และอื่นๆ (ไปเปิดตำรา ตารางธาตุดูได้ครับ)
เมื่อต้นไม้ได้สารอาหารครบถ้วน ต้นจะสมบูรณ์ แข็งแรงครับ ลองสำรวจดุครับ ต้นไม้ต้นยางของเราขาดอะไรกันมั่งครับ
ปล ในฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์ มีอาหาร รองและเสริมให้ครบถ้วนครับ
สำหรับต้นยางปกติที่เปิดกรีดแล้วนะครับ การใส่ปุ๋ยในสวนยางพารา ควรจะใส่อย่างน้อยปีละ2ครั้ง เพื่อให้ต้นยางพาราได้สะสมอาหารและเปลี่ยนมาเป็นน้ำยาง ได้อย่าเหมาะสม
ต้นยางที่แสดงอาการผิดปกติ เนื่องจากขาดสารอาหาร เมื่อแสดงอาการแล้วไม่ใช่ว่าขาดปุ๋ยมาสองสามเดือนนะครับ ถ้าแสดงอาการผิดปกติแล้ว อาจจะขาดสารอาหารมาเป็นปีแล้ว จึงแสดงอาการออกมา อาจจะขาดธาตุหลัก หรือธาตุรองและเสริมก้เป็นได้
ถ้าต้นยางขาดธาตุอาหารหลัก การให้น้ำยางจะลดน้อยลงมาก ยกตัวอย่าง
ชาวสวนยาง มีสวนยางอายุ12ปี ใส่ปุ๋ยตามปกติ เคมี สูตร ยางเปิดกรีด(หน้าสูง กลางต่ำ ท้ายสูง) กรีดยางได้น้ำยางปกติ แล้วอยู่มาวันหนึ่ง บอกว่า ใส่ปุ๋ยเคมีเปลือง ลองหันมาใส่อย่างอื่นมั่งดีกว่า จึงเอาปุ๋ยมูลสัวต์ ปุ๋ยหมักเอง(หญ้าและใบไม้หมัก หรือปุ๋ยส้วม) มาใส่แทนปุ๋ยเคมี
ปีนี้ก็ยังให้น้ำยางปกติ จนถึงปิดหน้ายาง เอาละทีนี้เรามาวิเคราะห์ดูกันนะครับ
เนื่องจาก ปุ๋ยเก่าในดิน NPK ที่ใส่ไปยังมีธาตุอาหารอยู่ ในปีนี้จึงกรีดได้น้ำยางปกติ แต่เราได้ใส่ปุ๋ย คอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยที่มี NPK น้อยลงไป สิ่งที่ตามมา ในปีถัดไป สารอาหารจะไม่พอที่จะทำให้ต้นยางสามารถผลิตน้ำยางออกมาได้เท่าเก่า เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ลดลง(์์NPK) จึงทำให้ในปีถัดไปน้ำยางออกน้อยตามมาครับ
ใครที่เป็นแบบนี้อยู่ลองสำรวจ ปุ๋ยดูนะครับ ใส่ได้ถึงเกณท์หรือเปล่า
ต้นไม้ส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการแค่ NPK ยังต้องการธาตุรอง และเสริมอยู่ด้วย ถ้าขาดอาจจะแสดงอาการต่างๆกัน เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ธาตุรองธาตุเสริมด้วย เช่น
แคลเซี่ยม เหล็ก ค๊อปเปอร์ แมงกานีส โมลิดินั่ม และอื่นๆ (ไปเปิดตำรา ตารางธาตุดูได้ครับ)
เมื่อต้นไม้ได้สารอาหารครบถ้วน ต้นจะสมบูรณ์ แข็งแรงครับ ลองสำรวจดุครับ ต้นไม้ต้นยางของเราขาดอะไรกันมั่งครับ
ปล ในฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์ มีอาหาร รองและเสริมให้ครบถ้วนครับ