ยาร้อน-ยาเย็น ดูยังไง ในฉลากก็ไม่บอก???
ยาร้อน เป็นภาษาชาวบ้าน พ่นยาไปแล้วทำให้พืชใบใหม้ ดอกร่วง ถ้าเป็นภาษาวิชาการเรียก ความเป็นพิษต่อพืช (Phytotoxicity)
ทีนี้ความเป็นพิษต่อพืชของสารฆ่าแมลง มีปัจจัยที่เกี่ยวของอะไรบ้าง
1. สูตรของยา ยาสูตรEC เป็นสูตรทีมีส่วนผสมของน้ำมันเยอะกว่าสูตรอื่น จึงมีโอกาสเกิดพิษมากกว่าสูตรอื่น อีกสูตรคือ WP(ยาผง) เนื่องจากสูตรนี้สารออกฤทธิ์เป็นผงไม่ละลายน้ำ ใช้แค่หลักการแขวนลอยในน้ำ(นึกภาพเหมือนตะกอนโคลนในโอ่ง) เวลาเราฉีดยาถ้าฉีดเยอะน้ำยาจะไหลลงปลายใบทำให้บริเวณปลายได้รับยาเข้มข้นมาก(ปลายใบใหม้ได้) ส่วนสูตรอื่นๆปลอดภัยดีกว่า2สูตรนี้
2. ส่วนของสารออกฤทธิ์เอง(เนื้อยา) สารที่มีสูตรโครงสร้างมาจากกลุ่มเบนซอยยูเรีย เช่น ไดฟลูเบนซูรอน คลอร์ฟลูอาซูรอน โนวาลูรอน ลูเฟนนูรอน ฯลฯ กลุ่มนี้ถ้าใช้อัตราสูงอาจเป็นพิษกับพืชช่วงออกดอก ติดผล โดยเฉพาะผลไม้ที่มีไขหรือมีนวลผิว
3. อัตราความเข้มข้น ถ้าหากใช้ยาหลายตัวความเข้นข้นสูงเกินกว่าพืชจะรับได้ พืชก็แสดงอาการเกิดพิษได้
4. ความถี่ในการพ่น พ่นยาถี่เกินไป สารเคมีจัดเป็นสิ่งแปลกปลอมของพืช เมื่อพืชได้รับเข้าไป จะมีการขับออกมาทางปากใบ(พร้อมการคายน้ำ) จะนานกี่วันขึ้นอยู่กับค่าครึ่งชีวิตของสารนั้น รวมถึงสภาพแวดล้อม(แสงแดด น้ำฝน หรือการให้น้ำ) ถ้าพืชยังขับสารเก่าออกมาไม่หมดแต่เราพ่นซ้ำเติมสารเข้าไปเพิ่ม ก็เกิดพิษได้
5. ช่วงอายุของพืช ช่วงวิกฤติของพืชคือ ช่วงออกดอก ติดผลอ่อน (ข้าวช่วงตั้งท้องออกรวง) ช่วงแล้งพืชขาดน้ำ การพ่นยาบางตัวช่วงนี้อาจเกิดการเป็นพิษได้
6. การผสมสารหลายชนิดเกินไป การผสมสารหลายชนิดอาจทำให้เกิดพิษกับพืชได้ เช่น การผสมสารกำมะถัน(ซัลเฟอร์ : S เป็นธาตุที่มีคุณสมบัติร้อน ใช้ทำดินปืนไง) หรือ สารเคมีกลุ่มออแกโนฟอสเฟตที่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ เช่น ไดเมโทเอต โอเมโธเอต เฟนโธเอต โปรฟีโนฟอส คลอร์ไพริฟอส ไตรอะโซฟอส เป็นต้นสารกลุ่มออแกโนฟอสเฟต กับพวก ไวท์ออย ปิโตรเลียมออยด์ ทำให้เกิดพิษได้ หรือการผสมสารสูตรEC ถ้าผสมกันหลายตัว ก็อาจทำให้เกิดพิษได้
7. สภาพแวดล้อมขณะพ่น เช่น พ่นตอนแดดจัดอากาศร้อน มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดพิษกับพืชได้(ตอนแดดจัดอากาศร้อนพืชจะคายน้ำเยอะเพื่อรักษาอุณหภูมิในใบ ไม่ให้ร้อนเกิน(เหมือนคนเหงื่อออกเพื่อระบายความร้อน) ให้ให้พืชใบเหี่ยว พอได้รับสารเคมีเข้าไป น้ำในใบพืชน้อยทำให้ยาเข้มข้นกว่าช่วงที่พืชไม่เหี่ยว จึงเกิดความเป็นพิษได้
จะเห็นได้ว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สารเคมีที่เราพ่น มีความเป็นพิษต่อพืช เพราะฉะนั้น การจะไปถามหายาร้อน ยาเย็น จากร้านขายเคมีเกษตร บางทีเขาบอกเป็นยาเย็นแต่เอามาฉีดแล้วพืชใบใหม้ อันนี้ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบทั้งเจ็ดข้อที่กล่าวมาด้วย ทางร้านเองถ้าจะขายยาที่มีความเสี่ยงว่าเป็นยาร้อน(ตามข้อ1และ2) ควรจะสอบถามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตด้วย เพราะตัวทำละลายหรือEC ของแต่ละบริษัทอาจจะมีคุณภาพแตกต่างกัน น่าจะมีหลายเกรดนะ หรือ ทางบริษัทผู้ผลิตเอง ควรจะให้ข้อมูลการใช้ในแต่ละพืชแก่ร้านค้าด้วย เนื่องจากแต่ละพืชมีความทนทานไม่เท่ากัน เพราะว่าฉลากยาส่วนใหญ่จะบอกไว้แค่พืชชนิดเดียว
*** สำหรับชาวนา ข้าวเป็นพืชไร่ ค่อนข้างจะทน กว่าพืชสวน ไม้ดอก พืชผัก ค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเทียบกันของแต่ละพันธุ์ จะให้ข้อสังเกตุไว้หน่อย เช่น พันธุ์ที่ใบใหญ่อย่าง กข49 ใบใหม้ง่ายกว่าพันธุ์อื่นนะ
ส่วนยาที่คนฉีดบอกร้อน แสบ ผิวหนังจะเป็นยาน๊อค กลุ่มไพรีทรอยด์(กลุ่ม3)ซึ่ง จะมีสารอยู่ตัวนึงชื่อ ไซยาโนกรุ๊ปเป็นองค์ประกอบอยู่ เจ้าตัวนี้แหละที่ทำให้ผิวหนังเราแสบ ร้อน ซึ่งบางคนเอาไปโยงว่าเป็นยาร้อนร้อนผิวคน กับร้อนพืชไม่เหมือนกันนะ(ยาน๊อค ที่ไม่มีไซยาโน กรุ๊ปคือ ไบเฟนทริน ไม่ร้อน แสบผิว)
ยาร้อน-ยาเย็น ดูยังไง ในฉลากก็ไม่บอก???
ยาร้อน-ยาเย็น ดูยังไง ในฉลากก็ไม่บอก???
รับผลิตสินค้า อาหารเสริมพืช สั่งผลิตตราตัวเองขั้นต่ำ 1 ลัง ออกแบบแบรนด์ ออกแบบฉลาก ส่งวิเคราะห์ขึ้นทะเบียน ถูกต้อง ขายสบายใจทำตลาดของตัวเอง รับประกันสินค้า มีหลากหลายเกรดให้เลือก สอบถามโทร 0897522999 0815502458 ครับ
http://www.pnpandbest.com
http://www.pnpandbest.com
ผู้ใช้งานขณะนี้
สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 6