การใช้สารเคมี กับพืชไร่สำคัญบางชนิด
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 27 เม.ย. 2014 7:29 pm
กาแฟ (Coffea arabica L. และ C. robusta Linden)
เร่งการสุกของผล
การใช้ ethephon อัตรา 480 กรัม/น้ำ 100 ลิตร (ความเข้มข้น 4,800 มก/ล) พ่นทั่วต้นในระยะที่ผลแก่จัด แต่ยังมีสีเขียวอยู่จะช่วยเร่งการสุกได้และมีการสุกสมํ่าเสมอกันมากขึ้น ถ้ามีการเก็บเกี่ยวผลหลายครั้งควรให้สารภายหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 แล้ว และควรให้สารสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งต้น
ถั่วเขียว (Phaseolus aureus RoxbJ
เพิ่มจำนวนฝัก
การทดลองใช้ mepiquat chloride ความเข้มข้นต่างๆ กัน พ่นทางใบให้กับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 พบว่าการใช้สารความเข้มข้น 150 มก/ล พ่นเมื่อต้นมีอายุ 5 สัปดาห์มีแนวโน้มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และจำนวนฝักมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ถั่วลิสง (Arachis hypogaea L.)
เพิ่มผลผลิต
การใช้ daminozide อัตรา 152 กรัมต่อไร่ผสมนํ้าอย่างตํ่า 18 ลิตร หรือความเข้มข้น ประมาณ 8,500 มก/ล จะช่วยลดความยาวกิ่งและเพิ่มผลผลิต การให้สารควรทำเมื่อเห็นว่ามีการเติบโตทางกิ่งใบมากเกินไป อย่างน้อยที่สุดควรให้ก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน การให้สารความเข้มข้นต่ำ หลายครั้งจะให้ผลดีกว่าการให้เพียงครั้งเดียวและไม่ควรให้ในขณะที่ต้นเหี่ยวเนื่องเนื่องจากขาดน้ำ
ถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.)
เพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองมีแนวทางที่จะเป็นไปได้มากในอนาคต เนื่องจากมีสารนับสิบชนิดที่ผ่านการทดลองแล้วพบว่าช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เช่น BAP. 2,4-D, daminozid NAA, mepiquat chloride, triacontanol, folcisteine ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเหล่านี้ เช่นความเข้มข้น ช่วงเวลาให้สาร สภาพแวดล้อม และพันธุ์ ยังไม่มีรายละเอียดมากพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
เร่งการแห้งของใบก่อนเก็บเกี่ยว
การใช้ diquat อัตรา 48 ถึง 96 กรัมต่อไร่ผสมน้ำประมาณ 8 ถึง 24 ลิตร พ่นต้นถั่วเหลืองเมื่อมีฝักประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ในต้นแก่และเหลืองแล้ว จะทำให้ใบถั่วแห้ง ซึ่งสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวควรทำภายใน 4 ถึง 6 วัน ภายหลังการให้สาร diquat เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง จึงมีผลกำจัดวัชพืชบางชนิด เช่น ผักบุ้ง ซึ่งขึ้นอยู่ในแปลงถั่วเหลืองได้ด้วย
ฝ้าย (Gossypium hirsutum L.)
ลดความสูงของต้น
การใช้ mepiquat chloride เข้มข้นสูง (460 กรัม/ล) โดยพ่นในปริมาตรตํ่า (low volume spray) (160-1,280 มล/ไร่) จะทำให้ต้นฝ้ายเตี้ยลง กิ่งก้านสั้น ป้องกันการร่วงของดอกและผล และเร่งการแก่ของสมอฝ้าย ทำให้เหมาะต่อการปลูกระยะชิดมากขึ้น
ยางพารา (Hevea braziliensis Willd. ex. A.Juss)
เร่งการไหลของนํ้ายาง
การใช้ ethephon อัตรา 20 มก/ต้น โดยทาบางๆ เป็นแนวใต้รอยกรีดจะเร่งการไหลของนํ้ายางได้และควรให้สารทุกๆ 2 เดือน ปริมาณนํ้ายางจะเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวภายใน 3 วัน หลังการให้สาร และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 10 หลังจากนั้นปริมาณน้ำยางจะค่อยๆ ลดลงจนเข้าสู่ปกติเมื่อครบ 2 เดือนภายหลังการให้สาร การใช้ ethephon ซํ้าอีกครั้งหนึ่งในช่วงที่ปริมาณนํ้ายางลดลงสู่ระดับปกติ (ภายใน 2 เดือนหลังการให้สาร) จะไม่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำยาง ได้อีก ต้องรอจนกระทั่งผ่านพ้นช่วงนี้ไปก่อน ดังนั้นจึงควรให้สารทุกๆ 2 เดือน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด เนื่องจาก ethephon เร่งการไหลของนํ้ายาง ซึ่งอาจมีผลทำให้ต้นโทรมได้เร็ว จึงควรใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยผลผลิตที่ได้รับ
ยาสูบ (Nicotiana tabacum L.)
ป้องกันการเกิดหน่อ
การใช้ maleic hydrazide ความเข้มข้น 500 ถึง 3,500 มก/ล (หรืออัตรา 41 ถึง 544 กรัม/ไร่ ผสมน้ำ 90 ถึง 160 ลิตร) พ่นต้นยาสูบภายหลังการตัดยอด โดยพ่นเฉพาะส่วนบนของต้นลงมาไม่เกินครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด จะป้องกันการเกิดหน่อหรือกิ่งแขนง ของยาสูบ ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตมากขึ้น การให้สารควรทำภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากตัดยอด และเพื่อให้ได้ผลเต็มที่ควรพ่นสารซํ้าอีกครั้งหนึ่งภายหลังการให้สารครั้งแรก 7-10 วัน ถ้ามีฝนตกภายใน 24 ชั่วโมง จะทำให้ประสิทธิภาพของสารตํ่าลง เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน
เร่งการแก่ของใบ
การใช้ ethephon ความเข้มข้น 4,500 ถึง 5,000 มก/ล (หรืออัตรา 350 ถึง 450 กรัม ผสมน้ำ 72 ถึง 96 ลิตร) โดยพ่นสารภายหลังการตัดแต่งครั้งที่ 2 หรือ 3 แล้ว และใบยาสูบแก่จัดเต็มที่ จะมีผลทำให้ใบยาสูบเหลืองได้เร็วและสมํ่าเสมอมากขึ้น การเก็บเกี่ยวควรทำทันที เมื่อเห็นว่าใบนั้นเหลืองพอเหมาะเนื่องจากถ้าทิ้งไว้จะทำให้ใบร่วงและผลผลิตลดลง
อ้อย (Saccharum officinarum L.)
ป้องกันการเกิดดอก
การใช้ diquat อัตรา 24-48 กรัมต่อไร่ ผสมนํ้า 12 ถึง 18 ลิตร (ความเข้มข้นประมาณ 2,000-2,500 มก/ล) พ่นในระยะเริ่มเกิดดอก จะช่วยป้องกันการเกิดดอกได้ แต่ห้ามใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวภายใน 3 ถึง 5 เดือน การใช้สารนี้อาจก่อให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจาก diquat เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง
เร่งการเติบโตและเพิ่มนํ้าตาล
การใช้ GA3 อัตรา 10 ถึง 30 กรัม/ไร่ผสมน้ำ 10-15 ลิตร (ความเข้มข้นประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มก/ล) พ่นโดยปริมาตรตํ่า จะช่วยเร่งการเติบโตของต้นอ้อยได้การพ่นสาร ต้องให้คลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง และควรใช้กับต้นอ้อยอายุ 1 หรือ 2 ปี ไม่ควรใช้กับต้นอ้อยอายุต่ำกว่า 3 เดือน เนื่องจากจะเกิดปัญหาอ้อยไม่แตกกอ และไม่ควรใช้สารในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 4 เดือน ในช่วงที่มีการให้สารควรมีน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการเต็บโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้สารนี้
เร่งการแก่และเพิ่มนํ้าตาล
การใช้ glyphosine อัตรา 320 ถึง 940 กรัม/ ไร่ ผสมนํ้า 8 ถึง 24 ลิตร (ความเข้มข้น ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์) พ่นโดยปริมาตรตํ่าในช่วงที่ต้นอ้อยเริ่มมีการสะสมน้ำตาล จะช่วยเร่งการแก่และเพิ่มปริมาตรน้ำตาล ภายหลังการให้สารแล้วต้องไม่มีฝนตกภายใน 4 ชั่วโมง เนื่องจากสารบางส่วนจะถูกชะล้างออกจากใบ ทำให้ไม่สามารถแสดงผลต่อพืชได้เต็มที่
ที่มา:พีรเดช ทองอำไพ
เร่งการสุกของผล
การใช้ ethephon อัตรา 480 กรัม/น้ำ 100 ลิตร (ความเข้มข้น 4,800 มก/ล) พ่นทั่วต้นในระยะที่ผลแก่จัด แต่ยังมีสีเขียวอยู่จะช่วยเร่งการสุกได้และมีการสุกสมํ่าเสมอกันมากขึ้น ถ้ามีการเก็บเกี่ยวผลหลายครั้งควรให้สารภายหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 แล้ว และควรให้สารสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งต้น
ถั่วเขียว (Phaseolus aureus RoxbJ
เพิ่มจำนวนฝัก
การทดลองใช้ mepiquat chloride ความเข้มข้นต่างๆ กัน พ่นทางใบให้กับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 พบว่าการใช้สารความเข้มข้น 150 มก/ล พ่นเมื่อต้นมีอายุ 5 สัปดาห์มีแนวโน้มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และจำนวนฝักมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ถั่วลิสง (Arachis hypogaea L.)
เพิ่มผลผลิต
การใช้ daminozide อัตรา 152 กรัมต่อไร่ผสมนํ้าอย่างตํ่า 18 ลิตร หรือความเข้มข้น ประมาณ 8,500 มก/ล จะช่วยลดความยาวกิ่งและเพิ่มผลผลิต การให้สารควรทำเมื่อเห็นว่ามีการเติบโตทางกิ่งใบมากเกินไป อย่างน้อยที่สุดควรให้ก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน การให้สารความเข้มข้นต่ำ หลายครั้งจะให้ผลดีกว่าการให้เพียงครั้งเดียวและไม่ควรให้ในขณะที่ต้นเหี่ยวเนื่องเนื่องจากขาดน้ำ
ถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.)
เพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองมีแนวทางที่จะเป็นไปได้มากในอนาคต เนื่องจากมีสารนับสิบชนิดที่ผ่านการทดลองแล้วพบว่าช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เช่น BAP. 2,4-D, daminozid NAA, mepiquat chloride, triacontanol, folcisteine ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเหล่านี้ เช่นความเข้มข้น ช่วงเวลาให้สาร สภาพแวดล้อม และพันธุ์ ยังไม่มีรายละเอียดมากพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
เร่งการแห้งของใบก่อนเก็บเกี่ยว
การใช้ diquat อัตรา 48 ถึง 96 กรัมต่อไร่ผสมน้ำประมาณ 8 ถึง 24 ลิตร พ่นต้นถั่วเหลืองเมื่อมีฝักประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ในต้นแก่และเหลืองแล้ว จะทำให้ใบถั่วแห้ง ซึ่งสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวควรทำภายใน 4 ถึง 6 วัน ภายหลังการให้สาร diquat เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง จึงมีผลกำจัดวัชพืชบางชนิด เช่น ผักบุ้ง ซึ่งขึ้นอยู่ในแปลงถั่วเหลืองได้ด้วย
ฝ้าย (Gossypium hirsutum L.)
ลดความสูงของต้น
การใช้ mepiquat chloride เข้มข้นสูง (460 กรัม/ล) โดยพ่นในปริมาตรตํ่า (low volume spray) (160-1,280 มล/ไร่) จะทำให้ต้นฝ้ายเตี้ยลง กิ่งก้านสั้น ป้องกันการร่วงของดอกและผล และเร่งการแก่ของสมอฝ้าย ทำให้เหมาะต่อการปลูกระยะชิดมากขึ้น
ยางพารา (Hevea braziliensis Willd. ex. A.Juss)
เร่งการไหลของนํ้ายาง
การใช้ ethephon อัตรา 20 มก/ต้น โดยทาบางๆ เป็นแนวใต้รอยกรีดจะเร่งการไหลของนํ้ายางได้และควรให้สารทุกๆ 2 เดือน ปริมาณนํ้ายางจะเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวภายใน 3 วัน หลังการให้สาร และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 10 หลังจากนั้นปริมาณน้ำยางจะค่อยๆ ลดลงจนเข้าสู่ปกติเมื่อครบ 2 เดือนภายหลังการให้สาร การใช้ ethephon ซํ้าอีกครั้งหนึ่งในช่วงที่ปริมาณนํ้ายางลดลงสู่ระดับปกติ (ภายใน 2 เดือนหลังการให้สาร) จะไม่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำยาง ได้อีก ต้องรอจนกระทั่งผ่านพ้นช่วงนี้ไปก่อน ดังนั้นจึงควรให้สารทุกๆ 2 เดือน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด เนื่องจาก ethephon เร่งการไหลของนํ้ายาง ซึ่งอาจมีผลทำให้ต้นโทรมได้เร็ว จึงควรใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยผลผลิตที่ได้รับ
ยาสูบ (Nicotiana tabacum L.)
ป้องกันการเกิดหน่อ
การใช้ maleic hydrazide ความเข้มข้น 500 ถึง 3,500 มก/ล (หรืออัตรา 41 ถึง 544 กรัม/ไร่ ผสมน้ำ 90 ถึง 160 ลิตร) พ่นต้นยาสูบภายหลังการตัดยอด โดยพ่นเฉพาะส่วนบนของต้นลงมาไม่เกินครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด จะป้องกันการเกิดหน่อหรือกิ่งแขนง ของยาสูบ ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตมากขึ้น การให้สารควรทำภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากตัดยอด และเพื่อให้ได้ผลเต็มที่ควรพ่นสารซํ้าอีกครั้งหนึ่งภายหลังการให้สารครั้งแรก 7-10 วัน ถ้ามีฝนตกภายใน 24 ชั่วโมง จะทำให้ประสิทธิภาพของสารตํ่าลง เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน
เร่งการแก่ของใบ
การใช้ ethephon ความเข้มข้น 4,500 ถึง 5,000 มก/ล (หรืออัตรา 350 ถึง 450 กรัม ผสมน้ำ 72 ถึง 96 ลิตร) โดยพ่นสารภายหลังการตัดแต่งครั้งที่ 2 หรือ 3 แล้ว และใบยาสูบแก่จัดเต็มที่ จะมีผลทำให้ใบยาสูบเหลืองได้เร็วและสมํ่าเสมอมากขึ้น การเก็บเกี่ยวควรทำทันที เมื่อเห็นว่าใบนั้นเหลืองพอเหมาะเนื่องจากถ้าทิ้งไว้จะทำให้ใบร่วงและผลผลิตลดลง
อ้อย (Saccharum officinarum L.)
ป้องกันการเกิดดอก
การใช้ diquat อัตรา 24-48 กรัมต่อไร่ ผสมนํ้า 12 ถึง 18 ลิตร (ความเข้มข้นประมาณ 2,000-2,500 มก/ล) พ่นในระยะเริ่มเกิดดอก จะช่วยป้องกันการเกิดดอกได้ แต่ห้ามใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวภายใน 3 ถึง 5 เดือน การใช้สารนี้อาจก่อให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจาก diquat เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง
เร่งการเติบโตและเพิ่มนํ้าตาล
การใช้ GA3 อัตรา 10 ถึง 30 กรัม/ไร่ผสมน้ำ 10-15 ลิตร (ความเข้มข้นประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มก/ล) พ่นโดยปริมาตรตํ่า จะช่วยเร่งการเติบโตของต้นอ้อยได้การพ่นสาร ต้องให้คลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง และควรใช้กับต้นอ้อยอายุ 1 หรือ 2 ปี ไม่ควรใช้กับต้นอ้อยอายุต่ำกว่า 3 เดือน เนื่องจากจะเกิดปัญหาอ้อยไม่แตกกอ และไม่ควรใช้สารในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 4 เดือน ในช่วงที่มีการให้สารควรมีน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการเต็บโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้สารนี้
เร่งการแก่และเพิ่มนํ้าตาล
การใช้ glyphosine อัตรา 320 ถึง 940 กรัม/ ไร่ ผสมนํ้า 8 ถึง 24 ลิตร (ความเข้มข้น ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์) พ่นโดยปริมาตรตํ่าในช่วงที่ต้นอ้อยเริ่มมีการสะสมน้ำตาล จะช่วยเร่งการแก่และเพิ่มปริมาตรน้ำตาล ภายหลังการให้สารแล้วต้องไม่มีฝนตกภายใน 4 ชั่วโมง เนื่องจากสารบางส่วนจะถูกชะล้างออกจากใบ ทำให้ไม่สามารถแสดงผลต่อพืชได้เต็มที่
ที่มา:พีรเดช ทองอำไพ