สารเร่งลำไย ระเบิดได้อย่างไร

ตอบกลับโพส
อ.บอล
โพสต์: 882
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 01 เม.ย. 2013 4:49 pm
ติดต่อ:

สารเร่งลำไย ระเบิดได้อย่างไร

โพสต์ โดย อ.บอล » ศุกร์ 08 มี.ค. 2019 12:35 pm

"สารเร่งลำไย ระเบิดได้อย่างไร ?"

วันนี้มีเหตุระเบิดรุนแรง เกิดขึ้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยมีผู้เสียชีวิต 1 รายในสภาพร่างกายขาด 2 ท่อน แรงระเบิดทำความเสียหายแก่บ้านเรือนใกล้เคียงและรถกระบะอีก 2 คัน ... จากการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่าผู้ตายได้นำสาร 2 ชนิด คือ โพแตสเซียมคลอเรต-โซเดียมคลอเรต มาตั้งไว้หลังบ้าน รอผสมกับน้ำไปราดโคนต้นลำไยเพื่อเร่งผลผลิต

ตามรายงานข่าว เจ้าหน้าที่คาดว่าขณะที่ผู้ตายกำลังผสมสารทั้ง 2 ชนิดอยู่นั้น เป็นช่วงเที่ยง อากาศร้อนจัด ทำให้สารเคมีเกิดปฏิกิริยากับความร้อน จึงเกิดระเบิดขึ้นดังกล่าว ... เรื่องนี้ เป็นไปได้จริงหรือ ? โพแตสเซียมคลอเรต-โซเดียมคลอเรต สารสองตัวนี้ไม่น่าจะเกิดปฏิกิริยาอะไรกันนี่ ?

ความจริงแล้ว เหตุการณ์การระเบิดของสาร "โพแทสเซียมคลอเรต" ที่ใช้เร่งลำไยนี้ เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ดังเช่น ในปี 2557 ที่คยเกิดบริเวณ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ จนมีผู้เสียชีวิตถึง 2 ศพ และบาดเจ็บ 7 คน บ้านพังเสียหายทั้งหลัง 2 หลัง พังเล็กน้อยอีก 22 หลัง (https://www.posttoday.com/social/local/328674)

สารโพแทสเซียมคลอเรตนั้น เป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการผลิตลำไย ทั้งในและนอกฤดู มีคุณสมบัติชักนำให้ลำไยออกดอกและติดผลได้ โดยไม่ต้องพึ่งอากาศหนาวเย็น ทำให้การผลิตลำไยนอกฤดูประสบความสำเร็จ หรือแม้แต่การผลิตลำไยในฤดูเกษตรกรก็นิยมใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต

สารโพแทสเซียมคลอเรตนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 และขณะเดียวกัน ก็อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2550 นั้น ต้องเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีเนื้อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ และต้องผสมสารหน่วงปฏิกิริยาโดยต้องระบุชนิดและปริมาณของสารหน่วงปฏิกิริยา

แต่ก็มักจะมีการนำสารโพแทสเซียมคลอเรตที่มีสารออกฤทธิ์เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ไปใช้ในการเกษตร และอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง จัดเก็บสารไว้ในที่เย็นและแห้ง อากาศถ่ายเท ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และจัดวางสารให้ห่างจากปุ๋ยเคมี ปุ๋ยยูเรีย และวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่อาจเป็นวัตถุไวไฟและเกิดการระเบิดได้ เช่น อินทรียวัตถุ อย่างปุ๋ยคอกหรือถ่าน

"ที่สำคัญ" คือ ต้องไม่ควรนำโพแทสเซียมคลอเรตไปผสมกับสารอื่น เช่น กำมะถันผง ผงถ่าน ขี้เลื่อย ปุ๋ยยูเรีย และสารฆ่าแมลง รวมทั้งห้ามตำสารหรือกระแทก หรือทำให้เกิดประกายไฟเด็ดขาด รวมทั้งระหว่างเตรียมการใช้สารห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นโดยเด็ดขาด

จากการทดลองของนักวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หลังเหตุการณ์ระเบิดที่ดอยเต่า (ดู https://www.youtube.com/watch?v=G2UCGq2OC3g) ได้ยืนยันว่า สาเหตุการระเบิดของสารโพแทสเซียมคลอเรต เพราะมีการนำสารบางตัวมาผสมทำให้กลายเป็นสารไวไฟและลุกไหม้อย่างรุนแรง เนื่องจากเมื่อทดลองจุดไฟกับสารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ พบว่า จะเกิดการเผาไหม้ แต่ไม่มีความไวไฟ ยกเว้นนำไปผสมกับสารอื่น เช่น ไธโอยูเรีย จะทำให้เกิดสารไวไฟและลุกไหม้อย่างรุนแรง

ดังนั้น ปัญหาของเรื่องนี้จริงๆ แล้ว คือ เกษตรกรชอบเอาสารโพแทสเซียมคลอเรตไปผสมกับสารอื่นๆ ที่คิดว่าจะทำให้ได้ผลดีขึ้น แต่จริงๆ แล้ว ทางนักวิชาการของ มทร.ล้านนา ยืนยันว่า ได้ผลในการเร่งลำไยไม่แตกต่างกันครับ จึงไม่ควรทำครับ
รับผลิตสินค้า อาหารเสริมพืช สั่งผลิตตราตัวเองขั้นต่ำ 1 ลัง ออกแบบแบรนด์ ออกแบบฉลาก ส่งวิเคราะห์ขึ้นทะเบียน ถูกต้อง ขายสบายใจทำตลาดของตัวเอง รับประกันสินค้า มีหลากหลายเกรดให้เลือก สอบถามโทร 0897522999 0815502458 ครับ
http://www.pnpandbest.com

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “คุณสมบัติต่างๆของอาหารธาตุรองธาตุอาหารเสริม และอื่นๆ”

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 1