น้ำยางสามารถจับตัวได้อย่างไร

รีวิวและอธิบายการใช้สินค้า ในกลุ่มยางพารา
ตอบกลับโพส
stpc096
Administrator
โพสต์: 87
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 10 พ.ค. 2012 9:55 am
ติดต่อ:

น้ำยางสามารถจับตัวได้อย่างไร

โพสต์ โดย stpc096 » พฤหัสฯ. 17 ม.ค. 2013 9:46 am

ประกอบด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น

- คุณสมบัติของตัวน้ำยางเองคือ หลังจากการกรีด น้ำยางสดจะคงสภาพเป็นน้ำยางไม่เกิน 6 ชั่วโมง จากนั้นจะเกิดการเสียสภาพ จากคุณสมบัติ

๑.Flocculation เกิดการจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ (เม็ดพริก) หลังจากกรีดยางประมาณ 2 ชั่วโมง จะเริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายเม็ดพริก แล้วค่อยๆ หนืดขึ้น

๒.Coagulation จับตัวเป็นก้อน เกิดการแยกเป็น 2 ส่วน คือ ยาง และ เซรุ่ม

๓. Gelation จับตัวทั้งก้อน เสียสภาพแล้ว แต่ยังคงรูปเป็น Gel

- ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ เมื่อน้ำยางได้รับความร้อน ก็สามารถทำให้จับตัวได้เช่นกัน

- การเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในน้ำยาง เนื่องจากในน้ำยาง มีประกอบของน้ำตาลชนิดคิวบาซิทอล ประมาณ 1%
และ กลูโคส ซูโคส ฟรุกโตส ปริมาณเล็กน้อย เป็นน้ำตาลที่เหมาะแก่การเจริญของแบคทีเรีย ที่อยู่ในน้ำยาง น้ำตาลเหล่านี้จะถูกแบคทีเรีย
ใช้เป็นอาหาร เกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายทำให้เกิดกรดไขมันที่มีโมเลกุลขนาดเล็กๆ (Short chain fatty acid)ในส่วนของเกิดการบูดเน่า มีกลิ่นเหม็นของน้ำยาง เกิดจาก ในน้ำยางมีส่วนประกอบของโปรตีนและกรดอะมิโน
ยางจะเกิดการสูญเสียสภาพและรวมตัวเป็นก้อน โดยกรดเหล่านี้จัดเป็นกรดไขมันที่ระเหยได้ง่าย เรียกชื่อว่า VFA(Volatile fatty acid)
VFA ประกอบด้วย กรดฟอร์มิค กรดอะซิติก และกรดโพรไพโอนิค VFA จึงเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการรักษาสภาพของน้ำยาง


ในส่วนของโปรตีนที่อยู่บริเวณผิวของอนุภาคยางนี้ จะมีส่วนประกอบของกำมะถัน (Cystine disulphide linkage)อยู่ประมาณ 5 %
ดังนั้นขณะที่น้ำยางเกิดการเสียสภาพ จะเกิดการบูดเน่า โดยโปรตีนในส่วนนี้จะสลายตัวให้สารประกอบพวก ไฮโดรเจนซัลไฟด์
และสารเมอร์แคปแทน(Mercaptan) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น
น้ำยางออกน้อย,เปลือกแตก,ยางตายนึ่ง,น้ำยางไม่ไหล,หน้าเน่า
อาการเหล่านี้จะหมดไป ไม่ต้องปวดหัวและเหนื่อยใจอีกต่อไปแล้วครับ
คลิ๊กเข้าชมสวนที่รักษาหาย
คลิ๊กเข้าชมวีธีการรักษายางตายนึ่ง
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ สูตรบำรุงต้น เพิ่มน้ำยาง

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ฮอร์โมนสำหรับยางพารา สารทาหน้ายาง ปุ๋ยทาหน้ายาง”

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 62