โรคราแป้ง (Powdery mildew)
 





สาเหตุ
                 เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล 
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่
การป้องกันกำจัด    ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค หากระบาดฉีดพ่นด้วยสารเคมี
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
ฟันดาโซล
50% WP
50% WP
20 กรัมต่อ
น้ำ 
20 ลิตร
พ่นบนใบยางอ่อนทุกสัปดาห์ในช่วงที่เริ่มพบโรค
คาร์เบนดาซิม
(carbendazim)
คาร์เบนดาซิม
 
50% WP
 
ซัลเฟอร์
(sulfur)
ซัลเฟอร์
 
80% WP
 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
10 ซี.ซี.ต่อ
น้ำ  
20  ลิตร
กำมะถันผง
 
กำมะถันผง
 
100%
 
1.5-4  กก.ต่อไร่ พ่นใบยางอ่อนในช่วงเช้าตรู่  เพื่อหลีกเลี่ยงลมและอาศัยประโยชน์จากน้ำค้าง

โรคราสีชมพู (Pink disease)
 



สาเหตุ
                   เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  Berk. & Br.

ลักษณะอาการ        เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบ  กิ่งก้าน  ลำต้น  บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือก  เมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่เปลือกยาง  แ
                           ผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป  เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะมองเห็นเป็นสีชมพู  ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเจริญเข้าไปในเปลือกและลุกลามไปยังลำต้น  ทำให้เปลือกแตก
                           และกะเทาะออก  น้ำยางไหลออกมาจับบตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นทางเมื่อน้ำยางแห้งจะมีราดำเข้าจับเป็นทางสีดำ  ใต้บริเวณแผลจะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมากมาย 
                          ใบยางเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  เกิดอาการตายจากยอด  เมื่อสภาพแวดดล้อมไม่เหมาะสม  เชื้อราจะพักตัว  สีชมพูที่เคยปรากฏจะ  ซีดลงจนเป็นสีขาว  
                           เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปจะเริ่มลุกลามต่อไป
การแพร่ระบาด
        ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น  มีปริมาณน้ำฝนสูง  เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูฝนปี ถัดไป  เชื้อแพร่กระจายโดยลมและฝน

พืชอาศัย
                กาแฟ  โกโก้  ชา  มะม่วง  ขนุน  ทุเรียน  เงาะ

การป้องกันกำจัด
      1. ตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน  เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
                            2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมหรือพืชแซมยาง
                            
3. ต้นยางอายุน้อยถ้าเป็นโรครุนแรงถึงกิ่งแห้งตายและมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล  ควรตัดแต่งแห้งตายทิ้ง  โดยตัดให้ต่ำกว่า
                                รอยแผลประมาณ  
2-3  นิ้ว  แล้วทาด้วยสารเคมีเคลือบบาดแผล 
                            
4. ต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด  เมื่อเป็นโรคแนะนำให้ใช้สารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (bordeaux  mixture)  ที่มีอัตราส่วนผสมจุนสี
                                หนัก  
120  กรัม  ปูนขาวนัก  240  กรัม (ถ้าเป็นปูนเผาใหม่ใช้ประมาณ 150 กรัม)  ผสมน้ำ  10  ลิตรโดยผสมใหม่ๆ  ทา
                                บริเวณที่เป็นโรค  ไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว  เนื่องจากสารทองแดงที่เป็นส่วนผสมของบอร์โดมิกซ์เจอร์ 
                                จะไหลลงไปผสมกับน้ำยางที่กรีดได้  ทำให้คุณภาพน้ำยางเสื่อมลง
                             
5. เมื่อตรวจพบต้นที่เป็นโรคให้ขูดเปลือกบริเวณเป็นแผลออกก่อนแล้วทาด้วยสารเคมี 
 

สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
เบนโนมิล
(benomyl)
เอพรอน
 
50% WP
 
50-100 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 
ขูดเปลือกบริเวณรอยแผลออกแล้วทาสารเคมี

 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
60-120 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 




ที่มา 
กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่มา : 
http://www.reothai.co.th/Para10.html


จำหน่าย LOGO เกษตร


รับปรึกษาการจดทะเบียน

ขอ LOGO ทางการเกษตร

ประเภทที่ 1 ปุ๋ยเคมี

กระดานถามตอบ ปัญหาต่างๆ

Fanpage Pnp and best


รับสมัครเซล ฟรีแลนซ์


กลุ่มยาเคมีเกษตรตราไก่แดง


Counter

FanPage ลืมตาอ้าปาก


รับซ่อมแซม ต่อเติมบ้าน


รับงานซ่อมแซมบ้านและ

อาคาร รวมถึงโครงการต่างๆ

TEL 089-440-7797

ID : MENZ0894407709

ประสบการณ์ 30 ปี

ผติตภัณฑ์  ลืมตาอ้าปาก


ฟิวชั่น4



แหล่งใต้



แคลทอง



บี ออร่า



บีรูท



ราโชเน่



แคลพลัส



แอ๊คชั่น



เบสท์ไคนิน



บีบี



โซนแม็ก



วันทูทา



โบล่ำ



รูทฟาส




ช่อทอง



เบสท์บิวท์อิน



ยูนิค




อันเดอร์โกรว์



บีซี

พันธมิตรการค้า