การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกงิ่ลําไย เป็นเทคโนโลยีหนึ่งร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการผลิต
ลําไยนอกฤดคูุณภาพดตี้นทุนต่ํา
ปัญหาที่สําคัญอย่างหนึ่ง
ของการผลิตลําไยของเกษตรกรทั้งแบบรายย่อยและเพื่อ การค้าคือ ต้นลําไยที่มีลักษณะทรงพุ่ม
สูงใหญ่ ทําให้ไม่สะดวกต่อการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว ผลผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง
วิธีหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหาดังกล่าวคือ การตัดแต่งกิ่ง ซึ่งเกษตรกร ต้องคํานึงถึงให้มาก
เพราะการตัดแต่งกิ่ง จะมีผลต่อการเจรญิเติบโต และการออกดอกติดผลเป็น อย่างมาก
1. เพื่อควบคุมขนาดความสูงและทรงพุ่มลําไยได้ตามความต้องการ เกิดความสะดวก ต่อการใช้สาร
ป้องกันและกําจัดโรค - แมลงศัตรูพืช ทําให้เก็บเกยี่วผลผลิตได้ง่าย และช่วยลด ค่าใช้จ่ายในเรื่อง
ไม้ค้ํายันกิ่ง รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต
2. ช่วยให้ต้นลําไยมีอายุยืนยาว และให้ผลผลิตสม่ําเสมอ เพราะการตัดแต่งกิ่ง จะมี ผลต่อการ
แตกตา ซึ่งจะเร่งให้ลําไยแตกใบอ่อน ทําให้ต้นลําไยฟื้นตัวได้เร็ว ใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทํา หน้าที่สร้าง
อาหารสะสมไว้สําหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป และลดค่าใช้จ่ายด้านธาตุ อาหารและสาร
ต่าง ๆ เนื่องจากได้ตัดกิ่งส่วนที่ไม่มีประโยชน์ออกไปแล้ว การตัดแต่งกิ่งเกิดประโยชน์หลายประการ
คือ ความสําคัญของการตัดแต่งกิ่ง
3. ทําให้ทรงพุ่มไม่ทึบเกินไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องเข้าไปในทรง พุ่มได้มากขึ้น
ทําให้ต้นลําไยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ส่งผลให้ลําไยออกดอก มากขึ้น
แต่ลดปริมาณการใช้สารลง รวมทั้งลดการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโรค-แมลงศัตรูได้บ้าง เช่น
โรคราดํา โรคจุดสาหร่ายสนิม เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เป็นต้น
4. ทําให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ได้ผลขนาดใหญ่ขึ้น และคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น การตัดแต่งกิ่ง
มีจุดประสงค์หลักคือ ตัดกิ่งที่ไม่ต้องการหรือเป็นส่วนเกินออก เพื่อลด การใช้อาหารในต้น จึงทําให้
ต้นลําไย มีธาตุอาหารเหลือพอที่จะไปเลี้ยงส่วนที่เหลือให้สมบูรณ์ แข็งแรง หลักการง่ายๆก็คือ
ใบลําไยมีหน้าที่สร้างอาหารไปเลี้ยงลําต้น แต่ถ้าทรงพุ่มแน่นทึบ เกินไป ก็จะมีส่วนของใบที่ไม่ถูก
แสงแดด ดังนั้น ใบและกิ่งเหล่านั้น จึงกินอาหารอย่างเดียวโดย ไม่ได้ช่วยสร้างดอกและผล
ผลก็คือ ใบที่เหลือต้องสร้างอาหารแล้วเอามาแบ่งให้กับกิ่งและใบ ที่อยู่ในร่ม แทนที่จะเก็บไว้ออกดอก
และสร้างผล ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งในส่วนที่ไม่ค่อยได้รับแสง ออกไป จึงเป็นที่มาของการตัดแต่งกิ่ง
ก่อนการตัดแต่งกิ่ง ต้องเตรียมความพร้อมให้กับต้นลําไยก่อน เป็นการจัดการเพื่อ กระตุ้นให้เกิดการ
แตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์ให้พร้อมสําหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มี คุณภาพ
หลักการตัดแต่งกิ่งลําไย นั้น ควรทําให้เร็วที่สุดภายหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิต เพื่อชักนําให้เกิดการ
แตกกิ่ง ใหม่ที่สมบูรณ์ โดยตัดกิ่งหลักที่อยู่กลาง พุ่มออก 2-3 กิ่ง เพื่อให้ต้นลําไยได้รับ แสงแดดมาก
ขึ้น และยังเป็นการช่วยชะลอ ความสูงของต้น หลังจากนั้น ต้องตัดกิ่ง กระโดง กิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดด
กิ่งที่ไม่ สมบูรณ์ และตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลง ทําลายทิ้ง ควรให้เหลือกิ่งอยู่ประมาณ 60% ของทรง
พุ่ม กล่าวโดยสรุปก็คือ ตัดเพื่อให้ใบส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ได้รับ แสงแดดได้มากที่สุด
ชาวสวนลําไยหลายราย ยังตัดแต่งกิ่งลําไยไม่ถูกวิธี ทําให้เกิดความเสียหายต่อต้น ลําไยอย่างมาก
การตัดแต่งกิ่งจะต้องคํานึงถึงพื้นที่ในการออกดอกติดผลของลําไย ความสะดวก ต่อการดูแลรักษา
และต้นทุนการผลิต หากเป็นไปได้ เกษตรกรควรเรียนรู้เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง ซึ่ง จะช่วยให้การผลิต
ลําไยมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่งลําไยนั้น ทําได้หลายรูปทรง ซึ่งมีผลแตกต่างกันไป แต่ที่จะแนะนํา ต่อไปนี้
เป็นวิธีที่ให้ผลดี 3 วิธี ได้แก่
เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงเปิดกลางพุ่ม
เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงาย และ
เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงสี่เหลี่ยม ให้พิจารณา
เลือกใช้ตามสภาพของอายุของต้นและระยะปลูก อุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งลําไย ได้แก่ - เลื่อย
ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ตั้งแต่ 0.5 - 4.0 นิ้ว - กรรไกร
ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ไม่เกิน 0.5 นิ้ว หรือจะใช้บริการ
จากทีมงานมืออาชีพของศูนย์วจิยัและพัฒนาลําไยแม่โจ้ การตัดแต่งกิ่งแบบเปิดกลางพุ่ม
หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทรงเปิดกะโหลก เป็นทรง ยอดนิยมแบบหนึ่ง และทํากันในหลายพื้นที่
โดยจะตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก 2-5 กิ่งใหญ่ เพื่อ ลดความสูงของต้น และให้แสงแดดส่องเข้า
ในทรงพุ่มได้ทั่วถึง
จากนั้น ก็ตัดกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่ม ที่ไม่ถูกแสงออกไปบ้าง ตัดกิ่งขนาดใหญ่ข้างทรงพุ่ม
กิ่งที่เป็นโรค-แมลงกัดกิน กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ ซ้อนทับกัน และกิ่งที่ชี้ลง การตัดทรงเปิดกลางพุ่มนี้
จะชะลอความสูงของลําต้นได้นาน เป็นการลด ต้นทุนเรื่องไม้ค้ำยัน
1. เทคนิคการตดัแต่งกิ่งทรงเปิดกลางพุ่ม การตัดแต่งกิ่งลําไย ๓ เทคนิค เทคนิคและวธิีการทํา
ทําได้โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก 2 – 5 กิ่ง แล้วตัด แต่งกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่ไม่ได้รับ
แสง ควรตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทางด้านข้างของทรงพุ่มออกบ้าง เพื่อให้แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่ม
ได้ทั่วถึง ขณะเดียวกัน ต้องตัดกิ่งที่ถูกโรค-แมลงทําลาย ตัดกิ่งที่ ไขว้กัน กิ่งซ้อนทับ และกิ่งที่ชี้ลง
ออกไปด้วย ยังมีการตัดแต่งกิ่งแบบตัดหนักอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า ทรงฝาชีหงาย ซึ่งก็คล้ายกับ
แบบเปิดกลางพุ่ม แต่แบบนี้ตัดหนักกว่า คือเอากิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกหมดเลย ให้เหลือแต่กิ่ง
ในแนวนอนเท่านั้น เพราะการออกดอกของลําไย จะออกที่ปลายกิ่ง เมื่อมีการตัดกิ่งในแนวตั้ง
ออกไปแล้ว ก็จะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมาจากกิ่งที่เหลืออยู่เป็นจํานวนมาก จึงสามารถออกดอกได้
มาก เมื่อมีการใช้สารบังคบัหรือเร่งใหอ้อกดอก เทคนิคและวิธิีการทํา ทําได้โดยตัดกิ่งที่อยู่กลาง
ทรงพุ่มออกให้หมด ให้เหลือเฉพาะ กิ่งที่เจริญในแนวนอน หลังจากนั้น จะเกิดกิ่งใหม่ขึ้นตามกิ่งหลัก
ที่เจริญในแนวนอน( กิ่งกระโดง ) ซึ่งจะออกดอกได้ภายใน 4 – 6 เดือนหลังตัดแต่ง และช่อผลลําไย
ที่เกิดจากกงิ่กระโดงเมื่อผลใกล้ แก่จะโน้มลง หลบเข้าในทรงพุ่ม ทําให้ผลลําไยมีขนาดใหญ่ และผิว
เปลือกมีสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นที่ ต้องการของตลาด
2.เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงฝาชีหงาย วิธีนี้มีข้อดีหลายอย่าง อาทิ ต้นลําไยจะมีทรงเตี้ย
สามารถควบคมุความสูงของทรง พุ่มให้อยู่ในระดับเดิมได้ทุกปี ทั้งยังช่วยกระตุ้นการแตกใบอ่อน
ให้เร็วขึ้น ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพ ดี โดยเฉพาะผลลําไยที่เกิดจากกิ่งกระโดงในทรงพุ่ม
จะมีผิวสีเหลืองทอง ผลโต เป็นที่ต้องการของ ตลาด และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 20 – 50%
ข้อจํากัด คือ ถ้าตัดแต่งขนาดทรงพุ่มออกมากเกินไป ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นอาจลดลง รวมทั้ง
เกิดอาการต้นลําไยเปลือกแตกมาก เนื่องจากการตัดเปิดกลางทรงพุ่มออกไปมาก ทําให้
แสงแดดส่องกระทบกิ่งและลําต้นมาก ส่งผลให้ลําไยแตกกิ่งกระโดงช้า และเกิดอาการเปลือกแตกมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นลําไยที่มีอายุมาก เพื่อลดปัญหาอาการเปลือกแตก ควรตัดแต่งกิ่ง
ลําไยแบบฝาชีหงายในฤดูฝนและลดความสูงไม่เกินร้อยละ 30 ของความสูงเดิม การตัดแต่งกิ่งทรง
ฝาชีหงาย นี้ การออกดอกในปีแรก จะให้ผลผลิตน้อย แต่ปีต่อไปจะเพิ่มผลผลิต ขึ้นมาก ผลลําไยที่ได้
จะมีผลโตและเปลือกผลมีสีสวยงาม
ยังมีการตัดแต่งในรูปแบบอื่นอีก เช่น ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายๆ กับแนวรั้วต้นชาดัด รั้วต้นดอกเข็ม
หรือรั้วต้นพู่ระหง ซึ่งวิธิีนี้ เป็นการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยและมีขนาดเล็ก ทําให้ เก็บผลผลิตได้ง่าย
และทําได้รวดเร็วข้ึน ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีการใช้สารเคมี หรืออื่นๆ ก็จะสิ้นเปลือง น้อยลง และอันตราย
ก็น้อยลง เพราะไม่ค่อยมีการสญูเสียและไม่ฟุ้งกระจาย เทคนิคและวธิีการทํา เหมาะสําหรับสวน
ที่มีต้นลําไยอายุน้อย และปลูกระยะชิด เกษตรกรอาจตัดแต่งกิ่ง “ทรงสี่เหลี่ยม” โดยกําหนดความสูง
ของทรงพุ่มอยู่ระหว่าง 2 – 3 เมตร ทําได้โดยนําไม้ไผ่มาทําเครอื่งหมายตามความสูงที่ต้องการ
แล้วนําไปทาบที่ต้นลําไย กิ่งที่สูงเกิน เครื่องหมาย ก็ตัดออกให้หมด จากนั้น ให้ตัดปลายกิ่งด้านข้าง
ทรงพุ่มออกทั้ง 4 ด้าน จะตัดออก เท่าใด ขึ้นอยกู่ับระยะปลูก และทรงพุ่มเดิม หากมีทรงพุ่ม
ใกล้จะชนกัน ก็ตัดออก โดยทั่วไป แนะนําให้ตัดลึกจากปลายกิ่งเข้าไปประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร
รูปทรงที่ได้จะเป็นทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายหลังการตัดแต่งกิ่งประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นลําไย
จะเริ่มแตกใบ ถ้าต้องการให้ ต้นลําไยสมบูรณ์เต็มที่ ควรให้มีการแตกใบ 3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ
6 เดือน นับตั้งแต่ตัดแต่งกิ่ง ก็สามารถชักนําการออกดอกได้
3.เทคนิคการตัดแต่งกิ่งทรงสี่เหลี่ยม หลังการตัดแต่งกิ่ง ต้องเร่งบํารุงต้น โดยให้ปุ๋ยอินทรีย์
(ปุ๋ยคอกและหรือปุ๋ยหมัก) อัตรา 10 - 20 กิโลกรัม/ต้น ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ซึ่งในระยะนี้ต้นลําไย
ต้องการธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม คิดเป็นสัดส่วน 4:1:3 สูตรปุ๋ยเคมีที่แนะนํา
ให้ใช้ควรเน้นธาตุ ไนโตรเจนและโพแทสเซียม เช่น สูตร 46-0-0, 15-15-15 และ 0-0-60
ส่วนอัตราการใช้ ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรควรวางแผนเตรียม
ความพร้อมต้นลําไย เร่งตัด แต่งกิ่ง เพื่อผลิตลําไยนอกฤดูคุณภาพดี ป้อนตลาดต่อไป และเมื่อถึง
ฤดูกาลเก็บเกี่ยวอีกครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวลําไยหมดต้นแล้ว ก็กลับเข้าสู่ช่วงเวลาตัดแต่งกิ่งในรอบ
ต่อไป สรปุ การตัดแต่งกิ่งทรงฝาชหีงายและทรงสี่เหลี่ยม มีผลกระตุ้นการแตกใบอ่อนได้ดีที่สุด
และ ยังมีปริมาณกิ่งกระโดงสะสมที่มากกว่าทรงเปิดกลางทรงพุ่ม ส่วนการตัดแต่งทรงฝาชีหงาย
ทําให้ได้สัดส่วนของผลผลิตขนาดใหญม่ากกว่าการตัดแต่งรูปทรงอื่น ๆ อย่างเด่นชัด จนทําให้ได้
ราคาเฉลี่ยสูงที่สุด และได้กําไรมากที่สุด รองลงมาคือทรงสี่เหลียม แต่..ไม่ว่าจะตัดแต่งกิ่งแบบไหน
อย่างแรกเลยที่ชาวสวนต้องเข้าใจคือ ต้องรู้ว่าตัดแต่ง ไปทำไม และต้องเข้าใจธรรมชาติของต้นไม้
ว่า เมื่อตัดแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าต้นไม้จะตาย เพราะจะมี ใบอ่อนแตกออกมาทดแทนของเดิม แต่หากตัด
มากเกินไป ก็จะได้แต่ใบ เพราะต้นไม้ต้องสร้างใบ ขึ้นมาชดเชยส่วนที่หายไป ถ้าตัดน้อยเกินไป
ก็ไม่เกิดประโยชน์ ยังมีการแย่งอาหารกันอยู่ ที่สําคัญคือ ต้องใจกล้าพอที่จะตัดแต่งกิ่งต้นไม้
อาจต้องทดลองทําสัก 1-2 ต้น ดูก่อน ก่อนที่จะปฏิบัติจริงทั้งสวน เมื่อชาวสวนเก็บเกี่ยวลำไยหมด
ต้นแล้ว ก็ถึงช่วงเวลาตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย เพื่อเตรียมต้นสําหรับการออกดอกในปีต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้
ก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการ ที่จะทําให้ได้ ลําไยผลโต รสชาติดี ที่คุณภาพตามทตี่ลาดต้องการ
เรียบเรียงโดย : เกตุอร ทองเครือ กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพฒันาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร