แมลงและศัตตรูพืชของลำไย

หนอนม้วนใบ 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Archips micaceana Walker.หนอนจะกัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายใน ถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเสียหาย 

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง หลังจากผสมพันธุ์ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ คล้ายเกล็ดปลา มีสีเหลืองอ่อน กลุ่มหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 70 - 200 ฟอง ระยะไข่ 5 - 9 วัน หนอนมีสีเหลืองปนเขียว หัวสีน้ำตาลแดง มีตุ่มตามลำตัวแต่ละตุ่มจะมีขนเล็กสีขาว 1 - 2 เส้น เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.3 - 1.5 ซม. ระยะหนอน 14 - 48 วัน แล้วเข้าดักแด้ในใบที่ม้วนนั้นเป็นดักแด้อยู่นาน 5 - 7 วัน ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจตามยอดอ่อนและช่อดอก ถ้าพบให้เก็บทำลาย
2. ถ้าระบาดรุนแรงมากควรฉีดพ่นด้วยยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยไพรีทรอยด์ อัตรา10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย) 
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr.
หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต

ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน
 มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ3 - 4 ซม. ระยะตัวหนอน 9 - 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด
1. เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่
2. เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ
3. เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30 - 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงค่อมทอง 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab.การทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและดอก ทำให้ใบเสียหายและชงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ มักพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติในเดือนเมษายนและพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน 

รูปร่างและชีวประวัติ
เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเวลาถูกตัวหรือได้รับความกระเทือนจะทิ้งตัวลง ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดินเมื่อฟักและเจริญเป็นตัวหนอนจะอาศัยกินราก พืชอยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่กินเวลา 10 - 11 วันระยะหนอนอยู่ในดินนาน 5 - 6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ 14 - 15 วัน

การป้องกันกำจัด

1. 
เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย
2. 
ใช้ยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10 - 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 
3. 
ถ้ามีการระบาดมากใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผีเสื้อมวนหวาน 
ทางภาคเหนือเรียกว่า 
กำเบ้อแดง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Othreis fullonica พบระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปาก (proboscis) เจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด สำหรับลำไยเมื่อถูกผีเสื้อมวนหวานดูดกินแล้วจะร่วงภายใน 3 - 4 วัน ผลที่ร่วงเมื่อบีบดูจะมีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ และเมื่อแกะผลดูจะพบว่าเนื้อในของลำไยจะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย แมลงชนิดนี้ออกหากินในเวลากลางคืน ระยะเวลาที่พบผีเสื้อมากที่สุดคือ 20.00 - 24.00 น.

หนอนกินดอกลำไย 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
 Eublemma versicolora ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไยโดย ใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงนั่น ซึ่งใช้เป็นที่สังเกตได้ง่าย หนอนจะทำลายดอกจนหมด

รูปร่างและชีวประวัติ
ลักษณะตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนหัวสีดำ ขนาดยาว 
1.5 - 2.0 ซม. ตัวอ้วนใหญ่ ระยะตัวอ่อน 14 - 16 วัน ระยะเข้าดักแด้ 6 - 8 วัน ขนาดตัวและกางปีกแล้วประมาณ 2 - 3 ซม. ปีกสีน้ำตาลปนเทา ทั้งปีกคู่หน้าและคู่หลังมีทางสีน้ำตาลเข้มพาดยาวๆจนถึงกลางปีก107

การป้องกันกำจัด
1. จับทำลายตัวหนอนที่พบตามช่อดอกเสีย
2. ถ้ามีระบาดมากควรใช้ยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังไม่บาน

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten.เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 - 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 - 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา ส่วนต่อน้ำ ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten. เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 - 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 - 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา ส่วนต่อน้ำ ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้

เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง 
แมลงจำพวกนี้ทำความเสียหายให้กับต้นลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ทั้งเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำ เมื่อราดำเกิดขึ้นที่ผลจะทำให้ผลดูสกปรก ราคาผลผลิตจะต่ำ

การป้องกันกำจัด

1. 
ตัดส่วนของพืชที่มีเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ไปเผาไฟเสีย
2. 
เมื่อพบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ควรพ่นด้วยมาลาไธออน อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพรีทรอยด์ อัตราส่วนตามฉลาก พ่นให้ทั่ว 2 - 3 ครั้งห่างกัน 10 วัน



Fackbook กลุ่มลำไยนอกฤดู เทคนิค และวิธีการผลิตส่งจีน


พบกับพวกเราในกลุ่มและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำลำไยได้ที่ Facebook ได้เลยครับ




Counter