ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
ราก - เป็นระบบรากแก้ว
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด
ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ
ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ
ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะเมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง
เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น
น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
|
ลักษณะของพันธุ์ยางที่ดี
1. ให้น้ำยางมาก
2. ต้านทานโรค
3. ต้านทานลม
4. เจริญเติบโตเร็วและสม่ำเสมอทั้งก่อนกรีดและหลังกรีด
5. เป็นโรคเปลือกแห้งน้อย
6. เปลือกที่กรีดแล้วงอกเร็ว และหนาใกล้เคียงกับเปลือกเดิม
7. หากใช้สารเคมีเร่งน้ำยางช่วยจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก |
ปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรจะต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกใช้พันธุ์ยาง
1. โรคยาง ในแต่ละท้องถิ่นมีการะบาดของโรคแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่จะปลูกควรศึกษาและพิจารณาก่อนว่าพื้นที่ที่จะปลูกมีโรคอะไรระบาดบ้าง ระบาดอยู่ในระดับรุนแรงมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนั้นๆได้ถูกต้อง
2. ลม ในบริเวณที่มีลมแรงควรปลูกเฉพาะพันธุ์ยางที่ต้านทานลมได้ดีเท่านั้น
3. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินแต่ละชนิดเหมาะสมกับพันธุ์ยางแต่ละพันธุ์ไม่เหมือนกัน ยางบางพันธุ์จะให้ผลดีเฉพาะพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ถ้านำไปปลูกในพื้นที่ดินเลวจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี ผลผลิตต่ำ แต่บางพันธุ์ปลูกในพื้นที่ดินเลวก็ให้ผลผลิตแตกต่างจากที่ปลูกในพื้นที่ดินดีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4. ความลึกของหน้าดินและระดับน้ำใต้ดิน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและมีระดับน้ำใต้ดินสูงไม่เหมาะที่จะปลูกยาง โดยปกติต้นยางจะชอบพื้นที่ที่มีหน้าดินลึกและมีการระบายน้ำดี แต่ยางบางพันธุ์ก็สามารถปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและมีระดับน้ำใต้ดินสูงได้
5. ความลาดชันของพื้นที่ ยางบางพันธุ์ไม่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ลาดชัน แต่ยางบางพันธุ์เหมาะหรือพอจะปลูกได้ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว |
ตาราง ผลผลิตเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ของพันธุ์ยางชั้น 1 ในแหล่งปลูกยางเดิมภาคใต้และภาคตะวันออก
ปีกรีด
|
พันธุ์ยาง |
|
เฉลี่ย |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
BPM 24 |
342 |
361 |
355 |
286 |
321 |
307 |
331 |
350 |
329 |
|
334 |
สงขลา 36 |
189 |
270 |
328 |
327 |
376 |
397 |
341 |
362 |
361 |
300 |
324 |
RRIM 600 |
170 |
231 |
257 |
284 |
327 |
398 |
381 |
402 |
323 |
317 |
309 |
GT 1 |
137 |
180 |
215 |
218 |
253 |
307 |
329 |
367 |
321 |
268 |
260 |
PR 255 |
216 |
277 |
301 |
349 |
302 |
154 |
182 |
223 |
197 |
|
245 |
PR 261 |
184 |
220 |
233 |
266 |
272 |
266 |
252 |
191 |
180 |
|
229 |
ที่มา: คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
|
ตาราง ผลผลิตเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ของพันธุ์ยางชั้น 1 ในแหล่งปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปีกรีด
|
พันธุ์ยาง |
|
เฉลี่ย |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
Rrim 600 |
98 |
160 |
277 |
260 |
214 |
298 |
301 |
- |
- |
- |
299 |
GT 1 |
77 |
153 |
206 |
252 |
165 |
236 |
267 |
- |
- |
- |
194 |
ที่มา: คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
|
ลักษณะต่างๆ ของพันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก (พันธุ์ยางชั้น 1)
บีพีเอ็ม (BPM)24 สงขลา 36อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600จีที (GT) 1พีอาร์ (PR) 255พีอาร์ (PR) 261
|
บีพีเอ็ม (BPM) 24
แม่ X พ่อ |
GT 1 x AVROS 1734 |
แหล่งกำเนิด |
อินโดนีเซีย |
ผลผลิต |
ผลผลิตสูงมากทั้งในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงปานกลาง |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด มีการเจริญเติบโตปานกลาง ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายปานกลาง |
ความต้านทานโรค |
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ดีมาก |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเทโทตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ดี |
- ราสีชมพู |
ปานกลา |
- เปลือกแห้ง |
ดีมีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย |
ความต้านทานลม |
ปานกลาง |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
ยางพันธุ์นี้ควรใช้ระยะกรีดที่มีความถี่ของการกรีดน้อย |
|
สงขลา 36
แม่ X พ่อ |
PB 5/63 x PB 107 |
แหล่งกำเนิด |
ไทย |
ผลผลิต |
ผลผลิตสูงมากทั้นในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงน้อยกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายเพียงเล็กน้อย |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ดี |
- ใบจุดออยเดียม |
อ่อนแอ |
- ใบจุดคอลเลโทตริกัม |
อ่อนแอ |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
อ่อนแอ |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ปานกลาง |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน และมีระดับน้ำใต้ดินสูง |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
เนื่องจากน้ำยางของยางพันธุ์นี้ เมื่อนำไปทำเป็นยางแแผ่นดิบจะมีสีคล้ำ การแก้ไขสามารถทำได้โดยใช้สารเคมีโซเดียมเมตาไบซัลๆฟด์ อัตรา 0.02-0.06 กรัมของเนื้อสารบริสุทธิ์ต่อน้ำหนักเนื้อยางแห้ง 1 กิโลกรัมผสมในน้ำยางก่อนทำยางแผ่น (ใช้สารเคมี 2-6 กรัม ผสมน้ำ 100 มิลลิลิตรแล้วนำสารละลายนั้น 10 มิลลิลิตร ผสมน้ำยาง 1 ตะกง ซึ่งน้ำยาง 1 ตะกงมีเนื้อยางแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม) |
|
อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600
แม่ X พ่อ |
Tjir 1x PB 86 |
แหล่งกำเนิด |
มาเลเซีย |
ผลผลิต |
ผลผลิตสูงมากทั้งในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ในแหล่งปลูกยางใหม่ผลผลิตจะลดลงมาก |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ในระยะระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนา |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่จะเสียหายรุนแรงมาก |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
อ่อนแอมาก |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
อ่อนแอมาก |
- ราสีชมพู |
อ่อนแอมาก |
- เปลือกแห้ง |
ดี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย |
ความต้านทานลม |
ปานกลาง |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
สำหรับการปลูกยางพันธุ์นี้ทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และบริเวณชายแดนของภาคตะวันออก ในบางปีที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราระบาดรุนแรง ผลผลิตจะลดลงมาก |
|
จีที (GT) 1
แม่ X พ่อ |
พันธุ์ตั้งเดิม |
แหล่งกำเนิด |
อินโดนีเซีย |
ผลผลิต |
ระยะ 2 ปีแรกของการกรีดให้ผลผลิตปานกลาง ผลผลิตจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อๆมา ส่วนในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ในระยะระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง ดังนั้นการกรีดยางพันธุ์นี้ไม่ควรกรีดหนา หรือสิ้นเปลืองมากเกินไป เพื่อให้เปลือกที่งอกใหม่มีช่วงเวลาการเจริญเติบโตของเปลือก หนาเพียงพอสำหรับการกลับมากรีดซ้ำ |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายน้อยมาก |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
อ่อนแอมาก |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
อ่อนแอมาก |
- เส้นดำ |
ดี |
- ราสีชมพู |
ดี |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ดีมาก จำนวนต้นเสียหายน้อยมาก |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
เพื่อเพิ่มผลผลิตในระยะ 1-2 ปีแรกของการกรีด ให้ใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทฟอน (Ethephon) ความเข้มข้น 2.5% ทาในรอยบากใต้รอยกรีด ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปีละ 4 ครั้ง โดยใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน |
|
พีอาร์ (PR) 255
แม่ X พ่อ |
Tjir 1 x PR 107 |
แหล่งกำเนิด |
อินโดนีเซีย |
ผลผลิต |
ผลผลิตสูงมากในระยะ 2 ปีแรก ในปีกรีดต่อๆมา ผลผลิตสูงส่วนในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด การเจริญเติบโตปานกลาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายเพียงเล็กน้อย |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
อ่อนแอมาก |
- เส้นดำ |
ดี |
- ราสีชมพู |
ปานกลาง |
- เปลือกแห้ง |
ดีมาก มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อยมาก |
ความต้านทานลม |
ดี มีจำนวนต้นเสียหายน้อย |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
ในระยะก่อนเปิดกรีดจะมีน้ำยางไหลตามลำต้นและกิ่ง แต่จะหายไปเมื่อต้นยางพาราอายุมาก นอกจากนี้รอยก้านใบเดิมตามลำต้นมักจะนูนออกมาและจะ ปรากฏให้เห็นมากเมื่อต้นยางไม่สมบูรณ์ |
|
พีอาร์ (PR) 261
แม่ X พ่อ |
Tjir 1 x PR 107 |
แหล่งกำเนิด |
อินโดนีเซีย |
ผลผลิต |
ผลผลิตสูงมากในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆ มา ในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด มีการเจริญเติบโตปานกลาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่หนามาก |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายเพียงเล็กน้อย |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
ปานกลาง |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ดี มีจำนวนต้นเสียหายน้อย |
พื้นที่ปลูก |
ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
ลักษณะประจำพันธุ์คล้ายพันธุ์พีอาร์ (PR) 225 แต่มีน้ำยางไหลตามลำต้นและกิ่งในช่วงระยะก่อนเปิดกรีดน้อยกว่า |
|
ลักษณะต่างๆ ของพันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก (พันธุ์ยางชั้น 2)
พีบี (PR) 217อาร์อาร์ไอซี (RRIC) 110อาร์อาร์ไอซี (RRIC) 100พีบี (PB) 260พีบี (PB) 255บีพี (BP) 235
|
พีบี (PR) 217
แม่ X พ่อ |
PB 5/51 x PB 6/9 |
แหล่งกำเนิด |
มาเลเซีย |
ผลผลิต |
ในระยะแรกให้ผลผลิตปานกลาง ในปีกรีดต่อๆมา ให้ผลผลิตดีมากส่วนในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงมาก |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ในระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตดี |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายค่อนข้างรุนแรง |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
อ่อนแอ |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
อ่อนแอ |
- เปลือกแห้ง |
ดี |
ความต้านทานลม |
ดีมาก |
พื้นที่ปลูก |
เจริญเติบโตได้ดีในที่ลาดชัน ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต |
ตอบสนองต่อการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางดี |
|
อาร์อาร์ไอซี (RRIC) 110
แม่ X พ่อ |
LCB 1320 x RRIC 7 |
แหล่งกำเนิด |
ศรีลังกา |
ผลผลิต |
ในระยะแรกให้ผลผลิตสูงมาก ในปีกรีดต่อๆมาและในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตดีมาก ระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่บาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายเพียงเล็กน้อย |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ดีมาก |
- ใบจุดออยเดียม |
อ่อนแอ |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ดีมาก |
- ราสีชมพู |
ปานกลาง |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
อ่อนแอ |
พื้นที่ปลูก |
ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
|
อาร์อาร์ไอซี (RRIC) 100
แม่ X พ่อ |
RRIM 52 x PB 83 |
แหล่งกำเนิด |
ศรีลังกา |
ผลผลิต |
ในระยะแรกๆให้ผลผลิตสูงมาก ในปีกรีดต่อๆมาและในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงเล็กน้อย |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตดีมากระหว่างกรีดมีการเจริญเติบ โตปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่บาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายปานกลาง |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
ดี |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
ปานกลาง |
- เปลือกแห้ง |
ดี |
ความต้านทานลม |
ดีมาก |
พื้นที่ปลูก |
ไม่เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
|
พีบี (PB) 260
แม่ X พ่อ |
PB 5/51 x PB 49 |
แหล่งกำเนิด |
มาเลเซีย |
ผลผลิต |
ในระยะแรกให้ผลผลิตสูงมาก ในปีกรีดต่อๆมาผลผลิตจะลดลงปานกลาง ส่วนในช่วงผลัดใบผลผลิตจะค่อนข้างสูง |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตดี ในระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมค่อนข้างบางเปลือกงอกใหม่บาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่จะเสียหายค่อนข้างรุนแรง |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
ดี |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ดี |
พื้นที่ปลูก |
สามารถปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
|
พีบี (PB) 255
แม่ X พ่อ |
PB 5/51 x PB 32/36 |
แหล่งกำเนิด |
มาเลเซีย |
ผลผลิต |
ในระยะแรกให้ผลผลิตสูงมาก ในปีกรีดต่อๆมาและในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงปานกลาง |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตดีมากในระหว่างกรีดมีการเจริญ เติบโตปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมหนา เปลือกงอกใหม่ค่อนข้างหนา |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่จะเสียหายปานกลาง |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
อ่อนแอ |
- ใบจุดออยเดียม |
ปานกลาง |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
ปานกลาง |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
อ่อนแอ |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ดี |
พื้นที่ปลูก |
สามารถปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
|
บีพี (BP) 235
แม่ X พ่อ |
PB 5/51 x PBS 78 |
แหล่งกำเนิด |
มาเลเซีย |
ผลผลิต |
ในระยะแรกให้ผลผลิตสูงมาก ในปีกรีดต่อๆมา ผลผลิตลดลงปานกลางและในช่วงผลัดใบผลผลิตจะค่อนข้างสูง |
การเจริญเติบโต |
ระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตดีมากในระหว่างกรีดมีการเจริญ เติบโตปานกลาง |
ความหนาของเปลือก |
เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่ค่อนข้างบาง |
รอยแผลกรีด |
ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายค่อนข้างรุนแรง |
ความต้านทานโรค |
|
- ใบร่วงไฟทอปโทรา |
ปานกลาง |
- ใบจุดออยเดียม |
อ่อนแอมาก |
- ใบจุดคอลเลโทรตริกัม |
อ่อนแอมาก |
- เส้นดำ |
ปานกลาง |
- ราสีชมพู |
ปานกลาง |
- เปลือกแห้ง |
ปานกลาง |
ความต้านทานลม |
ปานกลาง |
พื้นที่ปลูก |
ไม่เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง |
|
ที่มา : http://www.reothai.co.th/Para8.html
|