อาการตายจากยอด (Die back) |
|||||||||||
|
|||||||||||
สาเหตุ 1. อากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้ดินบริเวณรอบๆ รากขาดน้ำ หรือในดินทรายจัดซึ่งมีลักษณะไม่อุ้มน้ำ 2. การมีแผ่นหินดานหรือโครงสร้างคล้ายหินดานอยู่ใต้พื้นดินระดับสูงกว่า 1 เมตรขึ้นมา 3. เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดเข้าทำลาย เช่น โรคใบจุดนูน โรคราแป้ง โรคใบจุดก้างปลา 4. สารเคมีตกค้างในดิน เช่น สารเคมีป้องกันกำตัดศัตรูพืช การใส่ปุ๋ยมากเกินไป ลักษณะอาการ ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวและแห้งจากปลายกิ่งหรือปลายยอด ลุกลามเข้าหาส่วนโคนทีละน้อย ถ้าอาการเป็นไปอย่างช้าๆ ส่วน ของกิ่งหรือลำต้นที่ยังไม่ตายจะแตกแขนงใหม่ เพื่อเจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าอาการแห้งตายเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะแห้ง ตายตลอดต้นในระยะเวลาอันสั้น เปลือกล่อนออกจากเนื้อไม้ มองเห็นเชื้อราสีดำหรือขาวเกิดขึ้นบริเวณด้านในของเปลือก การป้องกันรักษา 1. ตัดกิ่งหรือยอดส่วนที่แห้งออก โดยตัดให้ต่ำลงมา 1-2 นิ้ว แล้ทาแผลด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา 2. บำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อยู่เสมอ 3. พยายามแก้ไขสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้งให้รดน้ำตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้น 4. ถ้าเกิดโรคระบาดให้ทำการรักษาตามคำแนะนำ 5. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||
|
|||||||||||
ลักษณะอาการ พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นที่ถูกทำลายจะรวมกันเป็นกลุ่ม อาจเป็น 5-6 ต้น หรือหลายสิบต้น อาการจะปรากฏ ทันทีโดยที่มีใบสีเขียวร่วงเหลือแต่ก้านใบติดอยู่ ลำต้นอาจปริ เปลือกแตก น้ำยางไหล เมื่อเฉือนเปลือกออก พบว่าเนื้อ เยื่อส่วนที่เป็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาลเหมือนสีชอคโกแลต ต่อมาเป็นสีม่วงอย่างรวดเร็ว และเป็นสีดำในที่สุด บริเวณลำต้นอาจพบแผลเน่าเป็นแผ่นๆ ซึ่งทำให้เข้าใจว่าเกิดจากเชื้อรา แผลเน่าจะเกิดทุกแห่งบนลำต้น ขนาดแผล 2-3 ตารางนิ้ว มีของเหลวสีม่วงไหลออกมา ถ้าตัดแผนเน่าออกดูจะเห็นชั้นใต้เปลือกแทนที่จะเป็นสีครีมกลับเป็นสีคล้ายเหล้า องุ่นซึ่งจะมีสีม่วงแดงใน 2-3 วัน บริเวณโคนต้นส่วนที่ติดกับพื้นดินยังสดอยู่ การแก้ไข 1. ขุดต้นที่ตายออก |
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่มา : http://www.reothai.co.th/Para10.html