การใส่ปุ๋ย
สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง
|
ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง |
ปุ๋ยสูตรที่
|
สูตรปุ๋ย
|
ชนิดของดิน
|
อายุของต้นยาง
|
ปุ๋ยเม็ด
|
ปุ๋ยผสม
|
1
|
18-10-6
|
8-14-3
|
ดินร่วน
|
2 - 41 เดือน
|
2
|
18-4-5
|
13-9-4
|
ดินร่วน
|
47 - 71 เดือน
|
3
|
16-8-14
|
8-13-7
|
ดินทราย
|
2 - 41 เดือน
|
4
|
14-4-19
|
11-10-7
|
ดินทราย
|
47 - 71 เดือน
|
5
|
-
|
15-0-18
|
ดินทุกชนิด
|
ต้นยางหลังจากเปิดกรีดซึ่งเคยปลูกพืชคลุมดินและใส่ปุ๋ยฟอสเฟต บำรุงพืชคลุมดิน
|
6
|
15-7-18
|
12-5-14
|
ดินทุกชนิด
|
ต้นยางหลังเปิดกรีด ซึ่งไม่เคยปลูกพืชคลุมดินมาก่อน
|
|
หมายเหตุ
ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
ดินทราย คือดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย มีโปแตสเซียมต่ำ
ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อดินะเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
ปุ๋ยเม็ด คือปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางถัดไป |
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม |
ปุ๋ยผสมสูตรที่ |
ปริมาณธาตุอาหาร (%) |
น้ำหนักของแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสม (กิโลกรัม) |
ไนโตรเจน (N) |
ฟอสเฟต
(P2 O5) |
โปแตสเซี่ยม (K2O) |
แอมโมเนียมซัลเฟต (21%N) |
ร้อคฟอสเฟต (25%P25) |
โปแตสเซี่ยมคลอไรด์
(60%K20) |
1 |
8 |
14 |
3 |
38 |
57 |
5 |
2 |
13 |
9 |
4 |
60 |
34 |
6 |
3 |
8 |
13 |
7 |
36 |
53 |
11 |
4 |
11 |
10 |
7 |
50 |
38 |
12 |
5 |
15 |
- |
18 |
71 |
- |
29 |
6 |
12 |
5 |
14 |
57 |
20 |
23 |
|
|
หมายเหตุ - ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว |
วิธีการใส่ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้ ใส่รองพื้น- นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง
ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย
ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถวต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย
ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น |
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่นอยู่ในบริเวณห่างจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนต้นยางที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปให้แถวยางห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร |
|
ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย
ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุเกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ย |
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก
อายุ
ต้นยาง
(เดือน)
|
จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)
|
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
|
สูตร 1 (ดินร่วน)
และ
สูตร 3 (ดินทราย)
|
สูตร 2 (ดินร่วน)
และ
สูตร 4 (ดินทราย)
|
ปุ๋ยผสม
|
2 |
60 |
|
130 |
ใส่รอบต้นรัศมี 30 เซนติเมตร |
4 |
60 |
|
130 |
ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร |
6 |
90 |
|
200 |
ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร |
11 |
120 |
|
260 |
ใส่รอบต้นรัศมี 50 เซนติเมตร |
14 |
120 |
|
260 |
ใส่รอบต้นรัศมี 60 เซนติเมตร |
17 |
120 |
|
260 |
ใส่เป็นแถบในแถวยาง ห่าง
จากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร |
23 |
190 |
|
400 |
29 |
190 |
|
400 |
35 |
190 |
|
400 |
41 |
190 |
|
400 |
47 |
|
250 |
530 |
53 |
|
250 |
530 |
59 |
|
250 |
530 |
65 |
|
250 |
530 |
ใส่เป็นแถบกว้าง 2.5 เมตร
ห่างจากโคนต้นยางข้างละ
อย่างน้อย 50 เซนติเมตร |
71 |
|
250 |
530 |
77 |
|
250 |
530 |
83 |
|
250 |
530 |
|
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อายุต้นยางหรือเดือนที่ใส่ปุ๋ย
|
สูตรปุ๋ยที่ใช้กับชนิดของดิน
|
อัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น)
|
ดินร่วน
|
ดินทราย
|
ปุ๋ยเม็ด
|
ปุ๋ยผสม
|
1 เดือนหลังปลูก |
ปุ๋ยเม็ด
18-10-6
หรือปุ๋ยผสม
8-14-3
|
ปุ๋ยเม็ด
16-8-14
หรือปุ๋ยผสม
8-13-7
|
45 |
100 |
4 เดือน (ต.ค.) |
70 |
150 |
11 เดือน (พ.ค.) |
90 |
200 |
16 เดือน (ต.ค.) |
90 |
200 |
23 เดือน (พ.ค.) |
135 |
300 |
28 เดือน (ต.ค.) |
135 |
300 |
35 เดือน (พ.ค.) |
135 |
300 |
40 เดือน (ต.ค.) |
135 |
300 |
47 เดือน (พ.ค.) |
ปุ๋ยเม็ด
18-4-5
หรือปุ๋ยผสม
13-9-4
|
ปุ๋ยเม็ด
14-4-9
หรือปุ๋ยผสม
11-10-7
|
190 |
400 |
52 เดือน (ต.ค.) |
190 |
400 |
59 เดือน (พ.ค.) |
190 |
400 |
64 เดือน (ต.ค.) |
190 |
400 |
71 เดือน (พ.ค.) |
190 |
400 |
76 เดือน (ต.ค.) |
190 |
400 |
หมายเหตุ เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
|
ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยางผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว |
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว
เวลาที่ใส่ปุ๋ย
สำหรับยางที่
เปิดกรีดแล้ว
|
ชนิดของปุ๋ย
|
จำนวนปุ๋ยที่ใส่
(กรัมต่อต้น)
|
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
|
ปุ๋ยเม็ด |
ปุ๋ยผสม |
ครั้งที่ 1 |
-ใส่ต้นฤดูฝนประมาณ
เดือนพฤษภาคม |
ปุ๋ยผสมสูตร 5 |
-
500
500
|
500
600
-
|
ใส่ทั่วแปลงยาง โดยหว่านให้ห่างจาก
แถวยางประมาณ 1 เมตร |
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 |
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ |
ครั้งที่ 2 |
-ใส่ปลายฤดูฝนประมาณ
เดือนกันยายน
ถึงเดือนตุลาคม |
ปุ๋ยผสมสูตร 5 |
- |
500 |
ใส่ทั่วแปลงยางโดยหว่านให้ให้ห่างจาก
แถวยางประมาณ 1 เมตร |
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 |
500 |
600 |
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ |
500 |
- |
หมายเหตุ ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย
|
ที่มา : http://www.reothai.co.th/Para7.html |