หนอนทราย (Cockchafers)
 



หนอนทรายเป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากยาง  ทำให้ต้นยางตายเป็นหย่อมๆ 

ลักษณะและวงชีวิต    ตัวเมียวางไข่ในสวนยางอาจเป็นฟองเดี่ยวๆ  หรือเป็นกลุ่มก้อน  และฟักเป็นตัวหนอนในอีก  2-3  สัปดาห์ต่อมา
                            
 ตัวหนอนมีสีขาว  รูปร่างงอเหมือนตัว  C  ลำตัวยาว  3-5  ซม.  อาศัยอยู่ในดิน  กินอินทรีย์วัตถุและรากพืชเป็นอาหาร 
                             เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไปและสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้  ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง
                             ขนาดใหญ่  ตัวอ้วนป้อมและสั้น  ลำตัวยาว  
3-5  ซม.  กลางวันหลบซ่อนในดิน  ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ

การทำลาย               กินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ  6-12  เดือน  ทำให้ต้นยางมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตาย  มักพบในสวนยางที่ปลูก
                             ทดแทน  ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า  และออกมากัดกินรากยางอ่อนและพืชร่วม  พืชแซมชนิดอื่นๆ  ที่อยู่
                             ในแปลงยาง  เช่น  สับปะรด  หวาย  ลองกอง  ทุเรียน  มังคุด  เนียงนก  มะฮอกกานี  รวมทั้งหญ้าคา  ยังไม่พบความเสีย
                             หายในต้นยางที่อายุมาก  แต่พบว่าตอยางเก่าที่อยู่ในสวนยางจะเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้
                             เป็นอย่างดี

การระบาด                ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม  พบระบาดในพื้นที่ที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย

การป้องกันกำจัด       1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม  ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ  จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
                             
2. ปลูกตะไคร้เพื่อล่อตัวหนอนให้ออกมาแล้วนำไปทำลาย
                             
3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางและตอยางเก่าแล้วกลบดิน

สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
คาร์โบซัลแฟน
(carbosulfan)
พอสซ์
 
20% EC
 
40-80 ซีซี.ต่อน้ำ  20  ลิตร
 
ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกหนอนทรายทำลายและต้นข้างเคียงต้นละ  1-2ลิตร
 
ฟิโปรนิล
(fipronil)
แอสเซ็นด์
 
5% SC
 
20  ซีซี.ต่อน้ำ  20  ลิตร
 


ปลวก (Termites)
 



          
          
ในสวนยางมีปลวกอาศัยอยู่หลายชนิด  ส่วนใหญ่กัดกินรากพืชที่ตายแล้วเป็นอาหารและให้ประโยชน์ในการให้อินทรีย์วัตถุแก่ดิน  มีเพียงชนิดเดียวที่ทำลายต้นยางสด  คือ Coptotermes  curvignathus

ลักษณะและวงชีวิต      ปลวกเป็นแมลงสร้างรังอยู่ในดิน  มีชีวิตรวมกันอยู่เป็นสังคม  มีรูปร่างต่างกันไปตามวรรณะ  ปลวกที่ทำลายต้นยาง
                               เป็นวรรณะนักรบ  สังเกตได้จากกรามที่มีขนาดใหญ่  เมื่อใช้กรามงับสิ่งของจะขับของเหลวคล้ายน้ำนมออกมาจาก
                               ส่วนหัวตอนหน้าทันที  ปลวกแต่ละรังมีจำนวนนับพันนับหมื่นตัว  โดยฟักออกจากไข่และเจริญเป็นตัวเต็มวัยโดย
                               การเปลี่ยนรูปร่างที่ละน้อย  โดยไม่ผ่านดักแด้

การทำลาย                 ต้นยางที่ถูกทำลายส่วนมากจะมีอาการใบเหลืองเหมือนโรคราก  ทำลายลำต้นยางได้ทุกระยะ  โดยการกัดกินรากและ
                               โคนต้น  ต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว  ต้นยางใหญ่ที่ถูกทำลายจะไม่สามารถมองเห็นลักษณะการ
                               ทำลายจากภายนอกได้เลย  จนกระทั่งต้นยางโค่นล้มเพราะถูกลมพัดแรงหรือต้องขุดรากขึ้นดูจึงจะเห็นโพรงปลวกที่
                               โคนราก

การระบาด                 พบมากในพื้นที่ดินเป็นลูกรัง

การป้องกันกำจัด         ทำได้ยากเนื่องปลวกมีชีวิตร่วมกันแบบสังคมและอาศัยอยู่ใต้ดิน  วิธีจะป้องกันกำจัดได้ก็โดยใช้สารเคมีที่เป็นของเหลว
                               ราดรอบโคนต้น  เพื่อให้ซึมลงไปตามรากโดยการขุดดินเป็นร่องแคบๆ  ที่โคนต้น  เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมขยาย
                               ออกไปมากเกินไป


สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
คาร์โบซัลแฟน
(carbosulfan)
พอสซ์
 
20% EC
 
40-80 ซีซี.ต่อน้ำ  20  ลิตร
 
ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกปลวกทำลายและต้นข้างเคียงต้นละ  1-2 ลิตร
 

ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่มา : 
http://www.reothai.co.th/Para10.html