อาการเปลือกแห้งแตก (Tapping panel dryness) |
|||||||||||
|
|||||||||||
สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนแต่มีรายงานว่าเป็นความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยางที่ถูกชักนำโดยหลายปัจจัย อาทิ การใช้ระบบกรีดหักโหม การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความผิดปกติของพันธุ์ และสภาพแวดล้อม ลักษณะอาการ น้ำยางจางลง หลังกรีดแล้วน้ำยางแห้งเป็นจุดๆ และยกออกจากกันเป็นชั้นๆ ถ้ายังกรีดต่อเปลือกยางจะแห้งสนิท เปลือกใต้รอยกรีดแตก ขยายบริเวณจนถึงพื้นดินและหลุดออก การป้องกันและแก้ไข 1. หากเริ่มแสดงอาการให้หยุดกรีดทันที อย่างน้อย 6-12 เดือน หรือจนกว่าน้ำยางจะไหลเป็นปกติ 2. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางปีละ 2 ครั้ง 3. ใช้ระบบกรีดให้เหมาะสมกับพันธุ์ยางและไม่กรีดหักโหมติดต่อกันนานๆ 4. ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสำหรับสวนยางที่พบอาการเปลือกแห้ง ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มา : http://www.reothai.co.th/Para10.html |