ารเก็บเกี่ยว ผลผลิตจากต้น ยางพารา จะแตกต่าง จากพืชอื่น ๆ ทั่วไป โดยได้ จากการกรีด ตัดส่วนของ ท่อน้ำยาง ในเปลือกยาง ทำให้น้ำยางที่มีอยู่ในท่อน้ำยาง ไหลทะลักออกมาชั่ว ระยะหนึ่งแล้วหยุด ผลผลิตยางจะได้มาก หรือน้อย ส่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับช่วง ระยะเวลาใน การไหลของน้ำยาง กับความเข้มข้น ของน้ำยาง ซึ่งปัจจัย ทั้งสองนี้จะขึ้นอยู่ กับพันธุ์ สภาพแวดล้อม การดูแลรักษาต้นยาง และการกรีด ถึงแม้จะ ปลูกด้วย ยางพันธุ์ดี แต่การดูแล รักษาไม่ดี หรือปลูกใน สภาพแวดล้อม ที่ไม่ เหมาะสม ผลผลิต ที่ได้ ก็จะไม่สูง เท่าที่ควร นอกจาก นี้โครงสร้าง ของเปลือก ในชั้นต่าง ๆ จำนวน วง ของท่อน้ำยาง ตลอดจน ขนาด และความหนาแน่น ของท่อน้ำยาง ก็มีความสัมพันธ์ อย่าง ใกล้ชิด กับผลผลิต และ ยังจ ะสามารถ บอกถึงความสามารถจริง ๆ ในการให้ผลผลิต ของต้นยางนั้น ๆ และสาเหตุที่ ทำให้ต้นยางนั้น ๆ ให้ผลผลิต ไม่สูงเท่าที่ควร ซึ่งใน การศึกษาโครงสร้าง ของเปลือกยาง ดังกล่าวนี้ นอกจากจะทำ ให้ทราบความสามารถในการให้ผลผลิตแล้ว ยังทราบถึงสุขภาพ และความสมบูรณ์ของ ต้นยาง ได้อีกด้วย จะทำให้สามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นยาง ได้เต็มที่ และยืดระยะเวลา ในการกรีดให้ ยาวนานออกไปได้ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ จะต้องคำนึงถึงในการเก็บเกี่ยวผล ผลิตยางที่สำคัญ มากอีกปัจจัยหนึ่งคือ การกรีดยาง ซึ่งจะมีผล อย่างมากต่อ ผลผลิตที่จะได้รับ ถึงแม้ต้นยาง จะสมบูรณ์มีจำนวน วงท่อน้ำยางมาก ต่ในการกรีดใช้มุมกรีด และความยาว รอยกรีดไม ่เหมาะสมกรีดตื้นไม่ถึง เปลือกชั้นในสุด ตัดท่อน้ำยาง ได้ไม่มากและ เอียงมุมมีด ไม่ถูกต้อง ทำให้น้ำยาง ไหลบ่า ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผล ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สูงเท่าที่ควร

 โครงสร้างของเปลือกยาง

            ปลือกยาง (Bark) ห่อหุ้มอยู่ ภายนอกต้นยาง เป็นส่วนของ ท่ออาหารที่เกิด จากการแบ่งตัว ออกมาทางด้านนอก
ของเยื่อเจริญ (Cambium) ซึ่งเป็น เนื้อเยื่อชั้นบาง ๆ อยู่ระหว่างเนื้อไม้ และเปลือกไม้ การแบ่งตัวนี้จะเกิดขึ้น ตลอดเวลา 
ถ้าแบ่งตัวออก ทางด้านนอกจะ กลายเป็นเปลือกยาง และแบ่งตัวเข้าทาง ด้านในจะเป็นเนื้อไม้ ใน การศึกษาเกี่ยวกับ ผลผลิต
ของต้นยาง จะเน้นที่เปลือกยาง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บ เกี่ยวผลผลิต เท่านั้น เพราะเป็นที่ อยู่ของท่อน้ำยาง ส่วนใน เนื้อไม้ จะไม่มีน้ำยางเพราะไม่มีท่อน้ำยาง


            นส่วนของเปลือกยาง เนื้อเยื่อที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ก็จะดันเนื้อ เยื่อส่วนที่เกิดขึ้นก่อน ออกมาทางด้านนอก 
ดังนั้นเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เยื่อเจริญ จึงเป็นเนื้อเยื่อ ที่เกิดขึ้นใหม่ และมีความสมบูรณ์ที่สุด เมื่อต้นยางมีอายุมากขึ้น
เนื้อเยื่อ ที่เกิดขึ้นก่อน ซึ่งอยู่ไกลจากเยื่อเจริญ โดยเฉพาะเซลล์พวก Parenchyma บางเซลล์จะมีผนังหนาขึ้น เนื่องจาก มีสารลิคนิน (Lignin) มาสะสมที่ผนังเซลล์ เกิดเป็น Stone cell ที่มีขนาด ของเซลล์ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่ง Stone cell เหล่านี้ เมื่อขยายรุกล้ำ เข้าไปในชั้น หรือวงของท่อน้ำยาง จะทำให้ท่อน้ำยางในวงนั้น ๆ ไม่สมบูรณ์ ขาดการติดต่อกัน Stone cell นี้ ถ้ามองด้วยตาเปล่า จะเห็นมีลักษณะ คล้ายเม็ดทราย และเป็นส่วนที่ทำให้เปลือกยางแข็งมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ต้นยางที่ปลูกในที่ไม่เหมาะสม หรือการดูแลรักษาไม่ดี นอกจากจะให้ผลผลิตต่ำแล้วเปลือกยางยังแข็ง และกรีดยาวกว่าปกติ การเกิด Stone cell จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสาเหตุ หลายประการ เช่น พันธุ์ยาง อายุของต้นยาง สภาพแวดล้อม ความชื้น ในดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
 

ภาพที่ 1 แสดง :
โครงสร้างของเปลื่อกยางตามรูปตัดแนวยาว (A) และรูปตัดแนวขวาง (B)

C = cambium
1 = horizontal ray cells
FST = functional sieve
tubes
2 = vertical ray cells
LVR = latex vessel ring
3 = internal zone
UST = unfuntional sieve 
tubes
4 = median zone
SC = stone cell
5 = external zone
6 = disorganized latex vessel zone
7 = latex vessel ring (ท่อน้ำยาง)
8 = functional sieve tubes
9 = unfunctional sieve tubes


 เปลือกยาง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ตามลักษณะของเนื้อเยื่อ และการเกิดของ Stone cell ในเปลือกยาง ดังนี้คือ 

            1.เปลือกชั้นในสุด (Soft bark zone)
 อยู่บริเวณ ที่ติดกับ เยื่อเจริญ หรือใกล้กับเนื้อไม้ เป็นเนื้อ เยื่อและ
ท่อน้ำยาง ที่สร้างขึ้นมาใหม่ จึงเป็นชั้นที่มี จำนวนวงท่อน้ำยาง หนาแน่นและสมบูรณ์ที่สุด เฉพาะฉะนั้นผลผลิต
สูงสุดของต้นยางแต่ละต้น จะอยู่ที่บริเวณนี้ แต่ความหนาของ เปลือกยางชั้นนี้ค่อนข้างบาง คือประมาณ 20-30% ของความหนา ของเปลือกทั้งหมด เท่านั้น และจะไม่มี Stone cell เลย จึงทำให้เนื้อเยื่อในชั้นนี้ค่อนข้างอ่อนนุ่น

            2.เปลือกชั้นนอก (Hard bark zone) 
อยู่ถัดจาก เปลือกชั้นในสุด ออกมาทางด้านนอก เป็นชั้นที่เยื่อเจริญ 
สร้างขึ้นก่อน แล้วถูกดันออกม าทางด้านนอก เมื่อมีการ สร้างเนื้อเยื่อใหม่ ขึ้นมาแทนที่ ในชั้นนี้ จะมี Stone 
cell เกิดขึ้น ซึ่ง Stone cell เหล่านี้ จะทำให้เปลือกยางแข็ง ท่อน้ำยางไม่สมบูรณ์ ขาดเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อ
กัน เป็นผลให้บริเวณ นี้มีผลผลิต ค่อนข้างต่ำ ถึงแม้จะเป็น ชั้นของเปลือก ที่หนากว่าชั้นอื่น ซึ่งมีความหนา
ถึง 70 - 80% ก็ตาม 


            3.ชั้นของคอร์ค (Cork) 
เป็นชั้นของเปลือกนอกสุด ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ ที่ตายแล้วทำหน้าที่ห่อหุ้ม ป้องกัน
และรักษา ความชื้นให้แก่ส่วน ของเปลือกที่อยู่ถัด เข้าไปด้านใน


 ท่อน้ำยาง


            อน้ำยาง (Laticiferous Vessel หรือ Laticifer หรือ Latex vessel) เกิดจาก การแบ่งตัวของเยื่อ เจริญ โดยที่กลุ่มเซลล์ชนิด เดียวกัน มาเชื่อมต่อกัน แล้วผนังเซลล์ หัวท้ายสลายตัว อาจเพียงบางส่วน หรือสลายตัวหมด กลายเป็นท่อ เดียวกัน แล้วแตกสาขา และยังเชื่อมต่อกับ เซลล์ชนิด เดียวกันที่อยู่ข้างเคียง โดยการสลายตัว ของผนังเซลล์ ด้านข้าง เกิดเป็นช่องเปิด ติดต่อกันได้ ทำให้มีลักษณะ คล้ายร่างแห หรือเป็นลักษณะ ที่เรียกว่า Articulated anastomosing laticifer (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 : ลักษณะ Articulated anastomosing laticifer ของท่อน้ำยาง แสดงรอยเชื่อมถึงกันได้ของท่อน้ำยาง (Rangential section : osmium tetoxide)

            ท่อน้ำยาง จะเรียงตัวกัน เป็นวงรอบ ลำต้น น้ำยางจึงสามารถ ติดต่อกัน ได้ทางรอย เปิดดังกล่าว ภายในวงเดียวกัน รอบลำต้น แต่ไม่สามารถ ติดต่อกันได้ ระหว่างวง (ในอดีตที่ผ่านมา มีรายงานว่า ท่อน้ำยางอาจ มีการติดต่อ ระหว่างวงได้บ้าง แต่น้อยมาก แต่ในปัจจุบันเมื่อ มีการตรวจสอบ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอน แล้วพบว่า ไม่สามารถ ติดต่อถึงกัน ระหว่างวงได้) โดยระหว่างวงของ ท่อน้ำยางจะมี เซลล์พวก Parenchyma ขนาบทั้งสอง ข้างเป็นชั้น ๆ สลับกัน
            ซึ่งโดยทั้งสอง วิธีจะเห็น Parenchyma cells คั่นอยู่ระหว่าง วงท่อน้ำยาง แต่เมื่อตัด เปลือกยางทางด้าน Tangential saction ซึ่งจะตั้งฉากกับ Long section แล้ว จะเห็นว่าท่อน้ำยาง ไม่เป็นท่อเดี่ยว ๆ แต่จะประสานตัวคล้ายร่างแห มีรอยเปิดถึง กันได้ภายในวงเดียวกัน (ภาพที่ 2, 3) การเรียงตัว ของท่อน้ำยาง ท่อน้ำยางเรียง ตัวรอบลำต้นตาม แนวดิ่งเป็นชั้น ๆ โดยทั่วไป อยู่ในลักษณะ เอียงไปทางขวาจาก แนวดิ่งเล็กน้อย ประมาณ 2.1 - 2.7? องศา ในบางพันธุ์อาจ พบว่าท่อน้ำยาง วางตัวเอียงไป ทางซ้ายจากแนว ดิ่งประมาณ 3.2 - 3.8?องศา แต่มีเพียง ส่วนน้อยที่มีลักษณะ เช่นนี้ ดังนั้นจึงต้องกรีดยาง จากซ้ายไปขวา ในแนวเฉียง เพื่อให้ตัด จำนวนท่อน้ำยาง ได้มากกว่า ทำให้การ ไหลน้ำยางอยู่ในอัตรา ความเร็วที่เหมาะสม และไหลได้นาน ซึ่งทำให้ได้รับ ผลผลิตสูงขึ้นตาม ที่ควรจะเป็น มีรายงานว่าจะสามารถ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อหน้ากรีดยางเฉียง 25?องศา จากแนวระดับ และ 15.4% เมื่อหน้ากรีดเฉียง 45?องศา ในต้นที่ปลูกจากเมล็ด
 


  
ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนวงของท่อน้ำยาง

            1. พันธุ์ยาง ต้นยางแต่ละพันธุ์ จะมีจำนวนวง ของท่อน้ำยางในเปลือก เฉลี่ยไม่เท่ากัน พันธุ์ที่ให้ ผลผลิตสูง มักจะมีจำนวน วงของท่อน้ำยางสูง โดยเฉพาะท่อน้ำยาง ในชั้นของเปลือกชั้นในสุด จึงใช้จำนวนวง ของท่อ น้ำยางเป็นดัชนีหนึ่ง ประกอบการ คัดเลือกพันธุ์ยาง 

            2. 
อายุของต้นยาง 
เมื่อต้นยาง มีอายุมากขึ้น เยื่อเจริญ จะแบ่งตัวออกทาง ด้านนอก ทำให้ความหนา ของเปลือก เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็มีการ สร้างท่อน้ำยาง เพิ่มขึ้นควบคู่ กันไปด้วย โดยทั่ว ๆ ไปความหนา ของเปลือก และจำนวนวง ของท่อน้ำยาง จะเพิ่มในอัตรา ค่อนข้างสูงเมื่อ ต้นยางมีอายุน้อย เนื่องจากอยู่ใน ระหว่าง กำลัง เจริญเติบโต และหลังจาก 15 ปี ไปแล้ว หรือหลังจาก มีการกรีดยางแล้ว อัตราการเพิ่มขึ้น ของเส้นรอบวง ต้นจะลดลง เพราะอาหารธาตุที่ต้นยาง สร้างขึ้นส่วน หนึ่งจะต้องนำ ไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในการสังเคราะห์ ยาง 

            3. 
ความชื้นในดิน 
ความชื้น ในดินจะมีผล ต่อการแบ่งเซลล์ ของเยื่อเจริญ และความหนา ของเปลือก โดยเฉพาะ ความหนาของเปลือก ชั้นในสุด ในสภาพอากาศ แห้งแล้ง ความชื้นใน ดินต่ำมาก และถ้าติดต่อกัน เป็นเวลา นาน การเกิด Stone cell จะเกิดขึ้น เร็ว และปริมาณมาก ทำให้ความหนา ของเปลือกชั้นใน สุดลดลง แต่เปลือกชั้น นอกจะหนา ขึ้นมาก และจำนวนวงท่อน้ำยาง ที่สมบูรณ์ จะลดลงด้วย (ภาพที่ 4) 

 

            4. ความอุดม
 สมบูรณ์ของดิน ดินที่ขาด ธาตุอาหาร จะส่งผล ให้การแบ่งตัว ของเยื่อเจริญ ไม่เป็นไป ตามปกติ และ Stone cell จะเกิดขึ้น ได้ง่าย เช่นเดียวกับ การที่ความชื้น ในดินต่ำ 

            5. 
ความสูง 
ระดับต่าง ๆ บนลำต้น ต้นยาง ที่ปลูกจากเมล็ด จะมีจำนวน วงของท่อน้ำยาง ลดลงที่ระดับ ความสูง ของลำต้น จากพื้นดิน เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจ เนื่องจาก จำนวนวง ของท่อน้ำยางมีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิด กับความหนา ของเปลือก (ในต้นปกติ) และต้นที่ปลูก จากเมล็ด จะมีความหนาของ เปลือกลดลง ที่ความสูง ของลำต้นเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ลำต้นมีลักษณะ เป็นรูปกรวย (Cone shape) คือลำต้น เรียวจากโคนต้นขึ้น ไปหาปลายต้น ดังนั้นการลดลง ของจำนวนวงท่อน้ำยาง ก็เนื่องมาจาก ลักษณะดังกล่าวนี้ด้วย สำหรับในต้นติดตา พบว่า การที่ลำต้น ของยางประเภท นี้ค่อนข้างเป็นทรง กระบอก (Cylinder shape) ตรงจุดที่มีเส้น รอบวงของลำต้น ใกล้เคียงกัน ความหนาของ เปลือกก็จะใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งมีผลทำให้จำนวน วงของท่อน้ำยาง ไม่แตกต่างกันมากนัก 

            6. 
ระยะห่างของท่อน้ำยาง 
จากเยื่อเจริญ ความหนาแน่น และจำนวนวงท่อน้ำยาง เป็นลักษณะ ประจำพันธุ์ โดยทั่วไป พบว่าประมาณ 40% ของวงท่อน้ำยาง อยู่ระหว่าง 1 มม. จากเยื่อเจริญ และค่อย ๆ ลดลงเป็นศูนย์ (เฉพาะวงของ ท่อน้ำยาง ที่สมบูรณ์) ที่ระยะห่างประมาณ 5-8 มม. 


 
 เปลือกยางและท่อน้ำยางที่เกี่ยวกับการกรีดและการให้ผลผลิต

               โครงสร้างของ เปลือกยางและท่อน้ำยาง จะมีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิด กับการกรีด และการให้ผลผลิต โดยผลผลิต จะได้มาก หรือน้อยขึ้น อยู่กับปัจจัย ต่าง ๆ ดังนี้ คือ 

            1. จำนวนของท่อน้ำยาง 
จำนวนวง ของท่อน้ำยาง จะมีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับ ผลผลิต ผลผลิตจะสูงเมื่อจำนวน วงของท่อน้ำยาง ในส่วนของเปลือก ชั้นในสุด มีจำนวนมาก โดยปกติจำนวนวง ของท่อน้ำยาง จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ประมาณ 1.74 - 3.14 วงต่อปี แต่จะไม่เป็น จำนวนสะสม เพราะท่อน้ำยาง ที่สร้างขึ้นมาก่อน ก็จะถูกดันร่นออก ไปด้านนอก เรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะ เป็นวงท่อน้ำยาง ที่ไม่สมบูรณ์ อยู่ในเปลือก ชั้นนอก ซึ่งให้ผลผลิต น้อยมากหรือ ไม่ให้เลย 

            2. 
เส้นผ่าศูนย์กลาง 
ของท่อน้ำยาง ท่อน้ำยาง ในเปลือกยาง จะมีขนาด แตกต่างกัน ตามพันธุ์ การดูแลรักษาและ ตำแหน่งภายในเปลือก โดยทั่วไปจะ มีขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลาง ภายในท่อประมาณ 30 ไมครอน นอกจากจำนวนวง ของท่อน้ำยางแล้ว ขนาดของเส้น ผ่าศูนย์กลาง ของท่อ ก็มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิด กับผลผลิตเช่น เดียวกัน คือท่อน้ำยางขนาดใหญ่ จะทำให้น้ำยางไหล ได้สะดวก รวดเร็วปริมาณมาก และไหลได้นาน เนื่องจากการอุดตัน เกิดขึ้นช้าลง 

            3. 
ความเข้มข้นของน้ำยาง 
ซึ่งแตกต่างกันตามพันธุ์ สภาพแวดล้อม ระบบกรีดและฤดูกาล ในช่วงที่กรีดยาง โดยทั่ว ๆ ไป น้ำยางจะมีความเข้มข้นประมาณ 35% และต้นยางที่ให้ผลผลิตสูง มักจะมีความเข้มข้น ของน้ำยาง ต่ำกว่าต้นยาง ที่ให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากการให้ผลผลิตสูง หมายถึงต้นยางมีช่วงเวลาการ ไหลของน้ำยางนาน ก่อนที่จะมีการ อุดตัน ดังนั้นเมื่อน้ำยาง ในท่อน้ำยางไหลออกมามาก เซลล์ที่อยู่ข้างเคียง (Parenchyma cells) ที่ไม่ใช่ท่อน้ำยาง จะต้องส่งน้ำเข้าไป ในเซลล์ท่อน้ำยาง เพื่อรักษาสมดุลย์ภายในท่อน้ำยาง และป้องกันไม่ให้แฟบ ดังนั้นน้ำส่วนหนึ่งก็จะไหลออกมา พร้อมกับน้ำยางด้วย ทำให้น้ำยางเจือจางลง เช่นเดียวกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง เป็นการยืดระยะเวลาการไหลของน้ำยาง หรือทำให้เกิดการอุดตันช้าลง ซึ่งน้ำยางจากต้นที่ ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง ก็จะยิ่งมีความเจือจาง แต่ผลผลิตในภาพรวมของ ต้นยางเหล่านี้จะสูงกว่าพวกที่มี ความเข้มข้นของน้ำยางสูง ซึ่งน้ำยางที่มีความเข้มข้นสูง จะมีความหนืดสูงการไหล ของน้ำยางจะช้า เกิดการอุดตันได้เร็ว และระยะเวลาการไหล ของน้ำยางจะสั้น ผลผลิตจึงต่ำกว่า 

            4. 
มุมของรอยกรีด 
ในการกรีดยาง จะกรีดในแนวเฉียง โดยให้กรีดจาก ด้านซ้ายมาขวา และให้ด้านซ้ายสูง ด้านขวาต่ำเอียงทำมุม 30-35 องศา กับแนวระดับ สำหรับต้นติดตา และ 25 องศา สำหรับต้นกล้ายาง นอกจากจะทำให้สามารถ ตัดจำนวนวงท่อน้ำยาง ได้มาก แล้วยังทำให้ท่อน้ำยาง ไหลในอัตราความเร็วที่เหมาะสม ถ้าอัตราการไหลของน้ำยางเร็วเกินไป หรือมุมของรอยกรีดชันเกินไป จะทำให้เกิดการอุดตันเร็วขึ้น เนื่องจากในน้ำยางมีอนุภาคของ Lutoid จำนวนมากแขวนลอยอยู่ Lutoid นี้จะมีผนังเปราะบาง และภายในประกอบด้วยกรด 
Phosphatase ซึ่งถ้าน้ำยางไหล ในอัตราที่เร็วเกินไป Lutoid ก็จะแตกทำให้กรด Phosphatase ภายในออกมา รวมกับกรดชนิดเดียว กันนี้ ที่เป็นส่วน ผสมในน้ำยาง (Free acid phosphatase) ทำให้เกิดสภาพเป็น กรดมากขึ้นในน้ำยาง มีผลทำให้อนุภาค ของยางในท่อน้ำยางจับตัวกัน แล้วไปอุดตัน ปากท่อน้ำยาง และน้ำยางหยุดไหลเร็วขึ้น ดังนั้นในการกรีดจึง ต้องใช้ความสำคัญ ต่อมุมของรอยกรีดด้วย 

            5. ความยาวของรอยกรีด มีความสำคัญ ต่อผลผลิตมาก ถ้ารอยกรีดยาว การตัดจำนวน ท่อน้ำยางจะมาก ซึ่งทำให้ท่อน้ำยางไหล ได้เร็ว และมากขึ้น รวมทั้งน้ำยาง จากท่อน้ำยางที่ไม่ได้กรีด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้าม ของรอยกรีด แต่อยู่ในวงเดียวกันกับ ที่ถูกกรีด ก็สามารถไหลออกที่หน้ากรีดได้ เนื่องจากน้ำยางภายใน วงเดียวกัน ไหลติดต่อกัน ได้เป็นวงรอบต้น เพราะมีรอยเปิดถึงกันได้ดังกล่าว แล้วข้างต้น (ภาพที่ 3) ถึงแม้ว่าพันธุ์ หรือระบบกรีดนั้น จะมีค่าดัชนีอุดตัน (Plugging index) สูงก็ตาม ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงขนาดของลำต้น และความสิ้นเปลืองเปลือก ควบคู่ไปด้วย 

            6. ความลึกของรอยกรีด ตามที่จำนวน วงของท่อน้ำยางหนาแน่น ในบริเวณเปลือกชั้นในสุด โดยเฉพาะในระยะ 1-3 มม. ของเยื่อเจริญ ดังนั้นในการกรีดยาง ควรจะกรีดให้ถึงบริเวณนี้ แต่จะต้องไม่ทำลายชั้นของเยื่อเจริญ หรือเกิดบาดแผล เนื่องจากเยื่อเจริญเป็นส่วนที่ สร้างเนื้อเยื่อใหม่มาทดแทน ถ้าหากถูกทำลาย ก็จะไม่สามารถสร้าง เปลือกใหม่ในบริเวณนั้นได้ หรือทำให้เปลือกงอก ใหม่ไม่เรียบสม่ำเสมอ เป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ การเก็บเกี่ยวผลผลิตจาก เปลือกงอกใหม่จะไม่สะดวก มีการศึกษาพบว่าโดยทั่วไป การกรีดยาง มักจะเหลือส่วนของเปลือกชั้นใน สุดอยู่อย่างน้อยประมาณ 1.3 มม. ซึ่งยังคงเหลือท่อน้ำยางไว้บนต้นยาง โดยไม่ได้กรีดถึง 50% อันหมายถึง ผลผลิตอย่างน้อย 50% ยังคงค้างอยู่บนต้น หรืออาจจะมากกว่า เพราะท่อน้ำยางที่ยังไม่ได้รับ การกรีดนี้เป็นท่อน้ำยางที่สมบูรณ์ที่สุด ถ้ากรีดเหลือ 1 มม. จากเยื่อเจริญจะกรีดได้ถึง 52% ของท่อน้ำยางทั้งหมด หรือถ้ากรีดเหลือ 0.5 มม. จากเยื่อเจริญ จะตัดวงท่อน้ำยางได้ถึง 80% ทั้งนี้จะต้องระวังว่า ต้องกรีดไม่ทำลายเยื่อเจริญ ดังกล่าวข้างต้น 

            7. การเอียงมุมมีดในการกรีด ในการกรีดยางจะต้อง กรีดเปลือกให้เป็นร่อง เพื่อให้น้ำยางไหล ไปลงที่ถ้วยรองรับได้สะดวก ดังนั้นการวางมุมมีด ก็มีความสำคัญ ถ้าร่องกรีดเป็นมุมป้านมาก จะทำให้น้ำยางไหลไม่สะดวก








                                                                 แหล่งที่มา : สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง