วิธีการผลิตยางแผ่นดิบ 

 

เพื่อให้ได้ยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน และได้ราคาชาวสวนควรทำยางแผ่นดิบให้มีคุณภาพดี  ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

                1. เก็บรวบรวมน้ำยาง  ใส่ในถังเก็บน้ำยางที่มีฝาปิด

                2. กรองน้ำยางด้วยตะแกรงลวดกรอง  เบอร์  40  และ  60  โดยวางตะแกรงกรองซ้อนกัน  2  ชั้น  เบอร์  40  ไว้ข้างบน  และเบอร์  60  ไว้ด้านล่าง                  
                                                                                                         
                                                                                         

                3. ตวงน้ำยางที่กรองแล้ว  3  ลิตร  กับน้ำสะอาด  2  ลิตร  ใส่ลงตะกง กวนให้เข้ากัน  อัตราส่วนผสมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง  หรือน้ำหนักยางแผ่นที่ได้  ตัวอย่างเช่น  ใช้อัตราส่วนผสมนี้แล้ว  ได้ยางแผ่นดิบแห้งน้ำหนักมากกว่า  1.2  กก.  ก็ให้ลดปริมาณน้ำยางต่อตะกงลง  แต่ถ้าได้ยางแผ่นดิบแห้งน้ำหนักน้อยกว่า  0.8  กก.  ให้เพิ่มปริมาณน้ำยางต่อตะกงขึ้นอีก  โดยปกติยางแผ่นดิบแห้งแล้วควรมีน้ำหนักประมาณ  1  กก.  
                                                                                                   

                                                                                  น้ำยาง  3  ลิตร                                             เติมน้ำสะอาดอีก  2  ลิตร
                
4. เตรียมน้ำกรด  โดยใช้น้ำกรดฟอร์มิค  ชนิดความเข้มข้น  90%  อัตราส่วน  2  ช้อนแกง  ผสมกับน้ำสะอาด  3  กระป๋องนม จะได้กรดที่มีความเข้มข้นพอเหมาะ  ซึ่งน้ำกรดฟอร์มิค 90%  จำนวน  1  ลิตร  สามารถใช้ทำยางแผ่นได้ประมาณ  90-100  แผ่น

                                                     
 

5. ตวงน้ำกรดที่ผสมแล้ว  1  กระป๋องนมใช้พายกวนน้ำยางก่อน  2-3  รอบ  แล้วเทกรดลงในน้ำยาง  กวนด้วยพายให้เข้ากันดี  ราว  4-5  รอบ (อย่ากวนนานเกินไปจนยางตึงตัว  เพราะจะปาดฟองอากาศออกไม่ทัน)

                                                                           

 
6. ใช้ใบพายกวาดฟองอากาศออกจากตะกงให้หมด

                                                     

7. ปิดตะกงเพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกตกลงในน้ำยางที่กำลังจับตัว  
ทิ้งไว้ประมาณ   30  45  นาที  ยางก็จะจับตัวเป็นก้อน                           
                                                                                 

        8. เมื่อยางจับตัวราว  30  นาที  ใช้นิ้วมือกดดู  ยางยุบตัวลงได้  นุ่มๆ  ยางไม่ติดมือ
สามารถนำไปนวดได้  ก่อนนำไปนวดรินน้ำสะอาดหล่อไว้ทุกตะกง  เพื่อสะดวกในการเทแท่นยางออกจากตะกง  อย่าปล่อยให้ยางจับตัวนานเกินไปจนไม่สามรถนวด  รีดได้  ควรตรวจสอบการจับตัวบ่อยๆ  และสังเกตลักษณะก้อนยางที่จับตัวได้พอดีสำหรับทำการนวด  จนเกิดความชำนาญ
        9. เทก้อนยางออกจากตะกงบนโต๊ะนวดยางที่ปูด้วยอลูมิเนียมหรือแผ่นสังกะสี  ใช้ท่อเหล็กนวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  3  นิ้ว  ยาวประมาณ  80  เซนติเมตร  นวดยางให้หนาประมาณ   1  เซนติเมตร  ตกแต่งแผ่นยางขณะทำการนวดให้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวเป็น  2  เท่าของความกว้าง  มุมทั้งสี่โค้งมนได้รูป

                                                                                              

    10. นำยางที่นวดแล้ว  เข้าเครื่องรีดลื่น(จักรเรียบ)  3  4  ครั้ง  ให้หนาประมาณ   4  มิลลิเมตร
 
   11. นำแผ่นที่ผ่านการรีดลื่นแล้ว  เข้าเครื่องรีดดอก 1 ครั้ง ให้เหลือความหนาไม่เกิน  2  มิลลิเมตร

 

 

12. นำแผ่นยางที่รีดดอกแล้วมาล้างด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างน้ำกรดและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามผิวของแผ่นยางออกให้หมด

 

13. นำแผ่นยางมาผึ่งให้แห้งไว้ในที่ร่มประมาณ  6  ชั่วโมง  ห้ามนำไปผึ่งแดดเพราะจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ

                                14. เก็บรวบรวมยางโดยพาดไว้บนราวในโรงเรือน  ผึ่งให้แห้งใช้เวลาประมาณ  15วัน   เพื่อรอจำหน่าย  

 

                ลักษณะยางแผ่นคุณภาพดี

                           1. แผ่นยางมีความสะอาดและปราศจากฟองอากาศตลอดแผ่น

                           2. มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน  1.5%

                           3. มีความยืดหยุ่นดี  และมีลายดอกเด่นชัดตลอดแผ่น

                           4. แผ่นยางบาง  มีความหนาของแผ่นไม่เกิน  3  มิลลิเมตร

                           5. เนื้อยางแห้งใส  มีสีสวยสม่ำเสมอตลอดแผ่น  ลักษณะสีเหลืองทองหรือเหลืองอ่อน  ไม่มีสีคล้ำหรือรอยด่างดำ

                           6. น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น  800  1,200  กรัม

                           7. แผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาดกว้าง  38  46  เซนติเมตร  ความยาว  80  90  เซนติเมตร


สมดุลย์   พวกเกาะ              ผู้เขียน

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7