การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีของดินในสวนยาง

ความสำคัญของการวิเคราะห์ดิน
   
     คำแนะนำการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางพารา  โดยสถาบันวิจัยยาง  กรมวิชาการเกษตร  แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีตามเขตพื้นที่ปลูกยางดังนี้
        1.ยางระยะก่อนเปิดกรีด
                1.1 เขตปลูกยางเดิม  (ภาคใต้  ภาคตะวันออก) ใช้สูตร  20 - 8 - 20  อัตราแนะนำตามอายุของยาง
                1.2 เขตปลูกยา
งใหม่  (ภาคอีสาน  ภาคเหนือ)  ใช้สูตร  20 - 10 - 12  อัตราแนะนำตามอายุของยาง
        2. ยางระยะเปิดกรีด
               ทุกเขตใช้สูตร  30 - 5 - 18  อัตรา  1  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี  แบ่งใส่  2  ครั้ง

        ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่เป็นกลางๆ  สามารถใช้ได้ทั่วไป  แต่ปัจจุบันนักวิจัยของสถาบันวิจัยยาง  กรมวิชาการเกษตร  ได้ศึกษาทดสอบ  จนพบว่า  การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินนั้น  จะสามารถทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่า  ให้ผลผลิตสูงและลดต้นทุนอีกด้วย 

        ดังนั้น  เพื่อให้ชาวสวนยางได้มีโอกาสในการนำวิชาการที่ทันสมัยไปปฏิบัติ  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา)  จึงได้จัดให้มีบริการตรวจวิเคราะห์ดินในสวนยางของเกษตรกร  พร้อมทั้งให้คำแนะนำการผสมปุ๋ยเคมีให้ได้ปริมาณธาตุอาหารที่ต้นยางต้องการตามค่าวิเคราะห์ดิน

การวิเคราะห์ดินจะเห็นผลได้แน่นอนขึ้นอยู่กับ การเก็บตัวอย่างดินที่นำมาวิเคราะห์ต้องเป็นตัวแทนที่ถูกต้องที่สุดของดินในบริเวณที่ต้องการจะทดสอบ  การเก็บตัวอย่างดินมักจะเป็นเรื่องของการแปรปรวนของดินวิธีเก็บตัวอย่างดินที่ให้ค่าความแปรปรวนน้อยที่สุด  โดยการเก็บตัวอย่างดินรวมซึ่งถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของดินในพื้นที่นั้น  และควรเก็บให้ถูกต้องตามหลักวิชาการดังนี้

1.  เวลาที่จะทำการเก็บตัวอย่างดิน

    การเก็บตัวอย่างดินทำได้ตลอดปี  ในเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือเวลาก่อนใส่ปุ๋ย  เพราะหากเก็บตัวอย่างดินหลังใส่ปุ๋ยอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ดินคลาดเคลื่อนได้  และควรเก็บตัวอย่างขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ  ความชื้นในดินที่เหมาะแก่การเก็บตัวอย่างดินอาจสังเกตได้ง่ายๆ  คือเมื่อบีบดินให้แน่นแล้วแบมือออกดินจะยังจับเป็นก้อน  แต่เมื่อใช้มือบีบอีกทีดินก็จะแตกร่วนโดยง่าย  การเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์จะทำเพียง 2 -3 ปีต่อครั้ง  เนื่องจากระดับธาตุอาหารในดินที่วิเคราะห์ได้โดยวิธีทางเคมีนั้น มักจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

          2.  เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดิน

              เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดิน  ได้แก่  สว่านเจาะดิน (soil auger) หรือกระบอกเจาะ(soil tube)  แต่โดยทั่วไปสามารถใช้พลั่ว  เสียม  หรือจอบแทนได้  นอกจากนี้ยังต้องมีวัสดุในการเก็บตัวอย่าง  เช่น  ถุงพลาสติก  ปากกาเมจิก  ยางวง  หรือกระดาษสำหรับจดบันทึก

          3.  หลักการเก็บตัวอย่างดิน

     1)  จำนวนหลุมที่เจาะจะต้องใช้วิธีสุ่มเลือก  และทิศทางของการสุ่มเลือกจุดเก็บจะต้องซิกแซ็ก  และแยกเก็บในพื้นที่ดินที่มีลักษณะต่างกันและมีสภาพพื้นที่ต่างกัน

     2)  ควรเก็บตัวอย่างดินจากหลุมย่อยให้มากพอที่เป็นตัวแทนของพื้นดินนั้น  โดยทั่วไปการเก็บตัวอย่างดินในแปลงเกษตรกร  เมื่อแบ่งแปลงที่จะเก็บตัวอย่างดินเป็นแปลงย่อยขนาดพื้นที่  10  ไร่  ควรเจาะเก็บประมาณ  10  หลุมต่อตัวอย่างดินรวม  1  ตัวอย่าง อย่างไรก็ตามการเพิ่มจำนวนหลุมเจาะมากขึ้นจะยิ่งลดความแปรปรวนของตัวอย่างดินรวม

     3)  ความลึกของดินที่เก็บ  ควรจะมีความลึกของดินที่พืชหยั่งรากลงไป  ยางพาราก่อนเปิดกรีดจะเจาะดินที่ระดับความลึกจากผิวดิน 15 เซนติเมตร  เพราะยางเล็กมีระดับรากตื้น  สำหรับยางพาราหลังเปิดกรีดจะสุ่มเก็บตัวอย่างดินที่บริเวณความลึก 30 เซนติเมตร  จากผิวดิน

           4.  วิธีเก็บตัวอย่างดิน

     1)  ใช้สว่านเจาะดินหรือกระบอกเจาะดิน  อาจใช้พลั่ว เสียม หรือจอบแทนได้โดยขุดหลุมให้เป็นรูปตัว V ขนาดกว้างเท่ากับหน้าพลั่วหรือเสียมลึกประมาณ 15 หรือ 30 เซนติเมตร  ตามความลึกของดินที่ต้องการจะเก็บตัวอย่าง  เอาดินในหลุมออกให้หมด  ใช้ปลายพลั่ววางลงขอบหลุมด้านใดด้านหนึ่งที่หน้าตัดเรียบห่างจากขอบหลุมประมาณ 2 เซนติเมตร    กดปลายพลั่วโดยแรงให้ปลายพลั่วกดดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร  แล้วงัดพลั่วขึ้นมา  หน้าดินจะติดมากับพลั่ว  ใช้มีดตัดหน้าดินบนพลั่วตามความยาวของพลั่วออกเป็น 3  ส่วน ทิ้ง 2  ส่วนด้านข้างออกไป  เหลือไว้ตรงกลางกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร  ซึ่งเป็นตัวอย่างดินสำหรับหลุมนั้นๆ



     2)  ดินที่เก็บแต่ละหลุมควรมีปริมาณเท่าๆ กัน  และเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่สะอาดไม่มีปุ๋ยเคมี   หรือสารเคมีใดๆ  หลังจากเก็บครบแล้วควรผึ่งในที่ร่ม  บดให้ละเอียดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อจะได้เป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นๆ บรรจุถุงระบุชื่อที่อยู่ และหมายเลขแปลงให้ชัดเจน  รัดปากถุงให้แน่น จากนั้นนำส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารต่อไป

การส่งวิเคราะห์
        วิธีที่ 1  นำส่งวิเคราะห์ด้วยตนเองได้ที่ศูนย์ฯ ในวันเวลาราชการ  โดยแจ้งนัดหมายนักวิชาการผู้รับผิดชอบทราบล่วงหน้าก่อนเดินทาง

        วิธีที่ 2  นำส่งทางไปรษณีย์  จ่าหน้าซองถึง  คุณ สวรรยา  ประธานี   ที่อยู่  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา)  เลขที่  15  หมู่ที่  2  ตำบลพระธาตุบังพวน  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองคาย  43100  ชำระค่าตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างละ  70  บาท  (สอดในซอง)  ตัวอย่างดินที่นำส่งจำนวน  2  ช้อนโต๊ะ  ใส่ในถุงพลาสติกรัดหนังยาง  ระบุหมายเลขแปลง  จำนวนต้นยางที่ปลูก  ขนาดพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยาง  พร้อมแจ้งชื่อ  ที่อยู่ผู้ส่ง  หรืออีเมลล์  และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับให้ทราบด้วย 

การวิเคราะห์
        เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับตัวอย่างดิน  จะดำเนินการตรวจวิเคราะห์  ด้วยชุดตรวจสอบดินแบบรวดเร็ว  (Soil  nutrients  ranging  by  N-P-K  test  kit)  ซึ่งจะทราบผลใน  30  นาที 

ตัวอย่างผลการวิเคราะห์

        นายสมดุลย์  พวกเกาะ  เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดหนองคาย  ปลูกยางจำนวน  1,200  ต้น  อายุยาง  1  เดือน  พันธุ์ RRIT  251  ต้องการทราบสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับสวนยางตนเอง  จึงส่งตัวอย่างดินในสวนยางมาทำการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลัก และสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดิน   
        ผลการวิเคราะห์  พบว่า  ดินมีธาตุไนโตรเจน  ระดับ  ต่ำ  ธาตุฟอสฟอรัส  ระดับปานกลาง  ธาตุโปแตสเซี่ยม  ระดับต่ำ  ค่าความเป็นกรด-ด่าง  5 (พอเหมาะ)


คำแนะนำการใส่ปุ๋ยหลังปลูกถึงก่อนเปิดกรีด

ใช้ปุ๋ยผสมสูตร  27 - 7 - 20

ปีที่

อายุต้นยาง

อัตราปุ๋ย (กก./ไร่) ของแม่ปุ๋ย

อัตราปุ๋ย

 

เดือน

46-0-0

18-46-0

0-0-60

(กรัม/ต้น)

1

1

19

63

40

115

 

3

19

63

40

115

 

6

28

95

60

173

 

12

36

123

76

223

2

15

36

123

76

223

 

18

36

123

76

223

 

24

55

190

114

339

3

30

55

190

114

339

 

36

55

190

114

339

4

42

55

190

114

339

 

48

71

240

148

435

5

54

71

240

148

435

 

60

71

240

148

435

6

66

71

240

148

435

 

72

71

240

148

435

 

คำแนะนำการใส่ปุ๋ยระยะเปิดกรีด

ใช้ปุ๋ยผสมสูตร  27 - 5 - 21

ครั้ง

ช่วงเวลา

อัตราปุ๋ย (กก./ไร่) ของแม่ปุ๋ย

อัตราปุ๋ย

 

 

46-0-0

18-46-0

0-0-60

(กรัม/ต้น)

1

ต้นฝน

126

679

442

587

2

ปลายฝน

126

679

442

587


การแจ้งผลการวิเคราะห์

        กรณี  นำส่งวิเคราะห์ด้วยตนเองสามารถทราบผลได้ใน  30  นาที

        กรณี  นำส่งวิเคราะห์ทางไปรษณีย์  ศูนย์ฯจะแจ้งผลการวิเคราะห์พร้อมคำแนะนำการผสมปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์  รวมถึงวิธีการใส่  อัตรา  และเวลาที่ใส่ปุ๋ย  ให้ท่านทราบภายใน  5  วันทำการ  หรือทางอีเมลล์

สนใจติดต่อ 

        คุณสวรรยา  ประธานี  ตำแหน่ง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  โทรศัพท์เคลื่อนที่  08-4405-3240  (สำนักงาน   08-6459-8051)