การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง
ในระยะยางอ่อน ปัญหาสำคัญคือ วัชพืชสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ และลดการชะล้างและพังทลายของดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
• ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
• รักษาความชุ่มชื้นในดิน
• เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
• เพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจนในดิน และหมุนเวียนธาตุอาหาร
• ควบคุมวัชพืช
• ช่วยลดระยะเวลายางอ่อน
• ผลตกค้างของพืชคลุมดินทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น
ข้อจำกัดของพืชคลุมดิน
• เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลง
• เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในสวนยางได้ง่าย
• เป็นการเพิ่มโรครากให้แก่ต้นยาง
• ขึ้นพันต้นยาง ทำให้เสียหาย
ชนิดของพืชคลุมดินที่ปลูกในสวนยาง
พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. คาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน 2 – 3 เดือน แต่จะตายภายใน 18 – 24 เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาบอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ 65,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
2. เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้าง เร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดหลังปลูกภายใน 5 – 6 เดือน คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตามแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
3. เซ็นโตรซีมา (Centrosema pubescens) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตช้า แต่ หนาทึบ และอยู่ได้นานขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา ใบเล็ก เมล็ดเล็กแบนมีลาย และมีเมล็ดประมาณ 40,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
4. ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตใน ระยะแรกช้าสามารคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4 – 6 เดือน ทนทานต่อร่มเงาได้ดี ไม่ตายในหน้าแล้ง ใบสีเขียวเข้มค่อนข้างหนาและเป็นมัน แผ่นใบมีขน เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันวาวมีเมล็ดประมาณ 26,200 เมล็ดต่อกิโลกรัม เนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดินแต่ละชนิดแตกต่างกัน การ ปลูกพืชคลุมดินให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกันตามสัดส่วน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินควรมีความงอกมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกโดยวิธีหว่าน สัดส่วนของการผสมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน
สัดส่วนของการผสมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน
สูตร |
สัดส่วนโดยน้ำหนัก |
กรัม/พื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ |
||||||
คาโลโปโกเนียม |
เซ็นโตรซีมา |
เพอราเรีย |
ซีรูเลียม |
คาโลโปโกเนียม |
เซ็นโตรซีมา |
เพอราเรีย |
ซีรูเลียม |
|
เขตปลูกยางเดิม |
||||||||
1 2 3 4 5 6 7 8 |
5 2 - - 1 1 - - |
4 2 2 3 2 1 - - |
1 1 1 1 - - 1 - |
- - - - - - - - |
500 400 - - 340 500 - - |
400 400 660 750 660 500 - - |
400 200 340 250 - - 1,000 - |
- - - - - - - 270 - 310 |
เขตปลูกยางใหม่ |
||||||||
9 10 |
1 - |
- - |
1 - |
- 1 |
750 - |
- - |
750 1,500 |
- 270 - 310 |
การเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน
เมล็ดพืชคลุมดินมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก เมื่อนำไปปลูกเมล็ดจะงอกน้อย จึงควรกระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้นโดยปฏิบัติดังนี้
1. แช่ในน้ำอุ่น ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดพืชคลุมดินคาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรียนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2:1) นาน 2 ชั่วโมง นำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาดๆ แล้วนำไปคลุกกับหินฟอสเฟต (25% Total P2O5) เพื่อนำปลูกต่อไป ควรเตรียมเมล็ดพืชคลุมดินเพื่อปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง การเก็บไว้นานเกินไปจะทำให้ความงอกเสื่อมลง
2. แช่ในน้ำกรด ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดซีรูเลียม โดยแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 10 นาที นำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง
ช่วงเวลาการปลูกพืชคลุมดิน
เวลาในการปลูกพืชคลุมดินมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล อายุของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินให้ประสบความสำเร็จมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. ฤดูกาลและเวลา ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตควบคุมวัชพืช และติดฝักให้เมล็ดได้ดีกว่าการปลูกล่าช้าออกไปเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดินได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้เพราะมีเถาที่แข็งแรง
แม้ว่าใบจะร่วงหล่นไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูฝนถัดไปเถาที่มีชีวิตอยู่นี้ และเมล็ดที่ร่วงหล่นอยู่บางส่วนก็จะเจริญงอกงามต่อไป
ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือในเขตแห้งแล้งไม่ควรปลูกพืชคลุมดินทิ้งไว้ข้ามฤดูกาลก่อนการปลูกยางเพราะพืชคลุมดินอาจทำความเสียหายให้กับต้นยาง โดยแย่งความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้ง
แหล่งที่มา : __แดง__ ประสิทธิ์ กาญจนา นักวิชาการฯ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี