การกรีดยาง


          ยางพันธุ์ดีไม่เหมือนยางพันธุ์พื้นเมือง กรีดครั้งหนึ่งน้ำยางออกมากกว่ายางพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 1-3 เท่า ฉะนั้นการจะกรีดยางพันธุ์ดีบ่อยครั้งเหมือนกับการกรีดยางพื้นเมืองจึงทำไม่ได้ จำเป็นต้องให้มีเวลาพัก มิฉะนั้นต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้ง คือกรีดแล้วน้ำยางไม่ออก


วิธีการกรีดยาง

          ต้นยางทุกต้นมีท่อน้ำยางอยู่ที่เปลือก วนเวียนรอบ ๆ ต้นจากบนขวามาล่างซ้าย การกรีดยางจากขวามาซ้าย ซึ่งกรีดกันมาแต่ ก่อนนั้นท่อน้ำยางถูกตัดขาดน้อยกว่าการกรีดจากซ้ายมาขวา ฉะนั้นจึงควรกรีดจากซ้ายมาขวา เพื่อให้ท่อน้ำยางถูกตัดขาดมาก จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น


ทางเดินของท่อน้ำยางและทิศทางที่ควรกรีด


การเปิดกรีดครั้งแรก


ต้นติดตา

           1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวันรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม. ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่คำนึงถึงอายุของต้นยาง และเปิดกรีด ณ จุดที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม.



2. ในระยะ 3 ปีแรก กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยไม่มีการกรีดชดเชย และควรหยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบ 

3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ตลอดไป หลังจากกรีดไปแล้ว 3 ปี และมีการกรีดชดเชย ถ้าวันกรีดน้อยกว่า 200 วันต่อปี 

4. กรีดจากซ้ายมาขวา โดยทำมุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ


ต้นกล้า

1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวัดรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 75 ซม.ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่คำนึงถึงอายุของต้นยาง 

    และเปิดกรีดที่จุดสูงจากพื้นดิน 75 ซม. 

2. กรีดครึ่งต้น กรีดวันเว้น 2 วัน สำหรับหน้าแรก 


3.
กรีดครึ่งต้นวันเว้นวันสำหรับหน้าต่อไป โดยไม่ต้องกรีดชดเชยแต่ควรหยุดกรีด เมื่อต้นยางผลัดใบ

 
4.
กรีดจากซ้ายมาขวา โดยทำมุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ


อุปกรณ์ในการเปิดกรีดยาง


1. ไม้เปิดกรีด

2. มีดกรีดยาง

3. ถ้วยรองน้ำยาง รางและลวดพยุงถ้วย

 


การเปิดกรีดหน้ายาง


            การเปิดกรีดให้เอาไม้แบบที่เตรียมไว้ ทาบเข้ากับส่วนสูงของลำต้น แล้วแนบแผ่นสังกะสีไปทางด้านซ้ายมือ ขีดเส้นตามแนวบนของแ ผ่นสังกะสีรอยที่เกิดขึ้น นี้ คือตำแหน่งหน้ายางที่จะเปิดกรีด ซึ่งมีความสูงและความลาดเอียงตามที่ต้องการ ต่อไปให้เครื่องหมายแนวของเปลือกที่จะต้องกรีดไว้ด้วย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แนวด้านหน้าให้ขีดเส้นลงมาตามแนวของไม้ที่แนบไว้ ส่วนด้านหลังให้ใช้เชือกวัดรอบต้นตรงความสูงที่จะเปิดกรีด แล้วทบสองความยาวของเชือกซึ่งจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงของต้นยางนั้น เอาปลายเชือกข้างหนึ่งจดที่เส้นแนวหน้าตรงหน้ายางที่จะเปิดกรีด ทาบเชือกไปรอบต้นสุดปลายเชือกก็คือแนวด้านหลัง แล้วขีดเส้นแนวย าวลงไปตามลำต้น

 



วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง


1. ติดรางรองน้ำยางห่างลงมาจากรอยกรีด 25 ซม. หรือ 9-10 นิ้ว ไม่ควรกดรางให้ลึกถึงเยื่อเจริญของต้นยาง 

2. ติดลวดและวางถ้วยรับน้ำยางห่างจากรางรับน้ำยางประมาณ 5-7 ซม. หรือ 2-3 นิ้ว

 

การสิ้นเปลืองเปลือก


ทุกครั้งที่กรีดยาง เปลือกยางจะถูกตัดออกไป ฉะนั้นเดือนหนึ่ง ๆ ควรกรีดเปลือกยางหมดประมาณ 1 นิ้ว หรือขนาดความกว้างของเหรียญบาท 

และควรทำเครื่องหมายไว้เพื่อตรวจสอบความสิ้นเปลืองของเปลือกยาง เมื่อกรีดมาถึงโคนหรือใกล้พื้นดิน ค่อย ๆ เลื่อนถ้วยรับน้ำยางจากขวาไปซ้ายตามความหดสั้นลงของรอยกรีด เพื่อใช้เปลือกบริเวณโคนให้หมด โดยไม่ต้องขุดหลุมฝังถ้วยแต่อย่างใด



การเปิดกรีดหน้าที่สอง


          เมื่อกรีดยางหน้าแรกหมดแล้ว ให้เปิดกรีดหน้าที่สอง ของเปลือกยาง โดยเปิดกรีดหน้ายางสูงจากพื้นดิน 150 ซม. ทั้งต้นติดตาและต้นกล้าและใช้มุมของการกรีดเท่ากับ 30-35 องศา ดังเดิม

 

ควรกรีดยางเวลาใด


          การกรีดยางพันธุ์ดี ไม่จำเป็นต้องกรีดก่อนสว่าง ควรกรีดเมื่อสว่างแล้วคือประมาณ 06.00-08.00 น. ก็จะได้น้ำยางมากเท่า ๆ กันกับการกรีดยางก่อนส ว่าง แต่อย่าให้เกิน 11.00 น.


ข้อควรปฏิบัติ

1. ใช้มีดที่คมอยู่เสมอ 
2.
กรีดจากซ้ายไปขวา 
3.
กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน 
4.
อย่ากรีดลึกถึงเนื้อไม้ 
5.
กรีดบาง ๆ เดือนหนึ่งใช้เปลือกอย่าให้เกิน 1 นิ้ว 
6.
ควรกรีดยางในตอนเช้าเป็นต้นไป 06.00-08.00 น. อย่าให้เกิน 11.00 น. 
7.
ไม่กรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก 
8.
หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบ 
9.
ทำความสะอาดถ้วยน้ำยางก่อนกรีดยางทุกครั้ง 
10.
เก็บน้ำยางเสร็จ คว่ำถ้วยไว้เสมอ 
11.
สำหรับสวนยางขนาดเล็ก ควรเปิดกรีดเมื่อต้นยางที่ได้ขนาดเปิดกรีดจำนวน 1/2 ของต้นยางทั้งสวน ส่วนสวนขนาดใหญ่ควรเปิดกร ีด เมื่อต้นยางได้ขนาดเปิดกรีดไม่น้อยกว่า 70% ของต้นยางทั้งหมด 

หลักการกรีดยางที่ดี

1. กรีดให้ได้น้ำยางมาก 
2.
กรีดต้นยางเสียหายน้ำที่สุด 
3.
กรีดได้นาน 25-30 ปี 
4.
เปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้จาก เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอหรือเกษตรตำบล 




เอกสารเผยแพร่ที่ 30 
กรมส่งเสริมการเกษตร เรียบเรียง ชวลิตร หุ่นแก้ว กองส่งเสริมพืชสวน

ศิลป์ ชำนาญ เอี่ยมทัต กองเกษตรสัมพันธ์

จัดทำ พัฒนา นรมาศ กองเกษตรสัมพันธ์


ผลิตและเผยแพร่โดย
ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์
กรมส่งเสริมการเกษตร